Web content and the Career Paths/ คนทำ Content ประกอบอาชีพอะไรได้บ้างนะ?

เมื่อวานนี้ตอนกำลังนั่งทำงานอยู่ จู่ ๆ ก็มีคนโทรเข้ามาถามว่าคุณคือคนที่ลงโฆษณาไว้ในเว็บ Rookienet.com ตรงส่วน Web editor ใช่ไหมคะ ผมตอบว่าใช่ เธอถามกลับมาทันทีว่า

คุณทำ Flash animation เป็นไหม ใช้งาน Dreamweaver ได้หรือเปล่า?

ผมเข้าใจว่าเธอคงเข้าใจความหมายของงานตรงส่วน Web editor คลาดเคลื่อน เลยเล่าให้เธอฟังว่า งานตรงส่วน Web editor มันเป็นเรื่องของ Content ที่กว้างมาก แต่ในความหมายที่เข้าใจโดยทั่ว ๆ ไปหน้าที่ของ Web editor มักจะหนีไม่พ้นงานที่สร้างและอัพเดท Content ที่มีความหมายเฉพาะเจาะจงลงไปที่เป็นเรื่อง Words เรื่องของภาษา

ที่เล่าเรื่องนี้ขึ้นมาก่อนผมเพียงแต่อยากจะคุยกับคุณในเรื่อง Career Paths ของ Web editor และคนทำ Content เท่านั้นเองครับ เพราะต่างคนต่างก็คิดกันไปคนละแบบ คิดต่างกันอย่างไร มาดูกันเลย…

ผมคิดว่าในเว็บไซต์ Rookienet.com ตรงส่วน Freelance center เขาแบ่งเอาไว้ถูกต้องแล้วนะครับ คือ แบ่งคนทำเว็บทั่ว ๆ ไปออกเป็น 3 ประเภท คือ 1. Designer 2. Programmer 3. Editor (จริง ๆ น่าจะมี Web Marketer อีกประเภทหนึ่งจะได้กว้างมากขึ้น – สนใจ Web Marketer ลองไปที่ www.Pawoot.com นะครับ)

เปิดอ่านว่ามีใครมาโฆษณาไว้ใน Designer คนที่มาลงโฆษณาก็จะบอกว่า ผม/ดิฉัน ใช้โปรแกรมเหล่านี้เป็น
-Adobe Photoshop CS
-Adobe ImageReady CS
-Adobe Illustrator €S
-Adobe Premiere 6.5
-Macromedia Flash 8
-Macromedia Dreamweaver 8
-Macromedia Firework 8
-Swift 3D

เปิดอ่านว่ามีใครมาโฆษณาไว้ใน Programmer ก็บอกว่าตัวเองเขียนภาษาอะไรได้บ้าง
HTML, Javascript, ASP, VBscript, SQL, PHP, MySQL, Access ,SQL Server

แล้วก็เปิดอ่าน ในส่วน Editor ปรากฏว่า เอ่อ…
Dreamweaver, Flash, Firework, Photoshop, Image ready, Frontpage, Illustrator, etc…Photo shooting. Web content writing. and so on.

จะเห็นได้ว่างานในส่วน Editor ในเว็บ Rookienet.com เป็นเพียงแค่พื้นที่สำหรับ Designer และ Programmer บางคนมาโพสต์โฆษณาว่าตัวเองสามารถทำงานด้าน Content ได้เท่านั้นเอง ซึ่งมันก็ไม่ผิดหรอกครับที่คนทั่วไปเขาจะเข้าใจแบบนั้น เพราะ Editorial skill นั้นใครก็มีได้ ฝึกฝนกันได้ แต่…มันคงไม่ใช่เพียงแค่ “อ๋อ Web editor น่ะเหรอ ก็ Up content เข้าไปสิ” “อย่าคิดมากน่า ก็เขียนอะไรก็ได้เข้าไปในเว็บ” “ลูกค้าก็มี Content เองอยู่แล้วไง เราจะไปเขียนแทนลูกค้าได้ยังไง”

แต่สำหรับผม คนที่ทำงานด้าน Content เป็นนักข่าวมาหลายปี ทำงานการตลาดมาพักใหญ่ ๆ และเป็น Web editor มาตลอด งานตรงส่วนนี้มันไม่ได้เป็นเพียงแค่ความสามารถที่เป็นประเภท “ของแถม” หรือเป็น option เพิ่มเติมความสามารถให้กับ Designer และ Programmer เท่านั้น แต่มันเป็นทักษะเฉพาะตัวที่ควรจะเข้าใจกันให้ถูกต้อง

คำแนะนำด้านอาชีพ
คนที่มีสายงานทางด้านการเป็นนักเขียน บรรณาธิการ มักจะมีทักษะด้านการเขียนที่ดีอยู่แล้ว รวมถึงเข้าใจการจัดสร้างเรียบเรียงโครงสร้างของข้อมูลให้เป็นระเบียบเรียบร้อยและง่ายต่อการเข้าใจของ User ในแบบ user เป็นศูนย์กลางที่จริงหาไม่ยากนัก แต่สำหรับบ้านเราคนที่รับงานด้านนี้ส่วนใหญ่เป็นคนที่จบมาทางสายสื่อสารมวลชน นิเทศศาสตร์ ไม่ก็เป็นคนทำงานในแวดวง Media, Advetising, เลยไปถึงคนทำงานเอเจนซี่ ที่มีความเข้าใจเรื่องอินเทอร์เน็ต

แล้วอาชีพนี้จะสร้างรายได้ได้อย่างไร?
Business model สำหรับ Web editor ยังมีอยู่อีกมากมาย เอาอย่างง่าย ๆ ที่คุณเริ่มต้นทำได้ด้วยตัวคุณเองได้เลยทันทีก็คือ
– รับจ้างเขียนบทความลงเว็บไซต์, ซีดีรอม, หนังสือรุ่น และ media อื่น ๆ ให้ลูกค้า
– รับจ้างจัดทำเว็บไซต์ในส่วนของการเป็นบรรณาธิการกับบริษัทห้างร้านต่าง ๆ ซึ่งมักจะมีเว็บไซต์ประเภท Brochure อยู่ คุณก็เข้าไปปรับให้เว็บไซต์ของเขาน่าอ่านมากขึ้น user-centric มากขึ้น
– รับจ้างอัพเดทเว็บไซต์ให้สดใหม่ น่าสนใจเสมอ จากการสำรวจของผมคร่าว ๆ จะพบว่าบริษัทมักจะไม่ค่อยสนใจเว็บไซต์ประเภท Brochure เท่าไหร่ จะด้วยเหตุผลทางเวลา หรืออะไรก็ตาม มันเป็นเว็บไซต์ที่สร้างความประทับใจครั้งแรกในการเข้าชม และมีผลต่อแบรนด์ของลูกค้า

ของแถม

ผมหยิบเอา Career Paths หรือสายงานอาชีพบางส่วนของคนที่ทำงานในด้าน Editor จาก Poewar.com เว็บที่เป็นศูนย์รวมของ Web editor ในสหรัฐฯ มาให้ดูกันนะครับ http://www.poewar.com/archives/2005/03/04/glossary-of-writing-careers/

สำหรับท่านผู้ใช้เว็บ Rookienet.com โดยเฉพาะตรงส่วน Freelance ลองดูที่เว็บไซต์นี้นะครับ ผมว่า Web editor ของเราน่าจะมีลักษณะแบบนี้ http://www.freelancewriting.com/

ผมคิดแบบนี้ แล้วคุณคิดว่าไงบ้าง?

6 Replies to “Web content and the Career Paths/ คนทำ Content ประกอบอาชีพอะไรได้บ้างนะ?”

  1. ขอถามพี่นิดหนึ่งได้ไหมครับ
    ถ้าอยากมีบล๊อกแบบพี่ ต้องทำยังงัยครับ
    หมายถึง www. yourname.com
    แบบพี่นี่ครับ
    บอกสถานที่สมัครได้ใหมครับ
    รบกวนมากไปป่าวครับผม
    ช่วยตอบนิดนึงได้ไหมครับ

  2. -_- ไม่เกี่ยวกับ content ในบล็อกเยย
    ไม่เป็นไรครับ อิอิ

    ก็จดโดเมนเนมมาชื่อนึง (เช่น Suthi.com) แล้ว Forward IP มาที่ Blog ที่เราสมัครไว้กับทาง Blog provider ก็เรียบร้อยแล้วครับ

  3. สำหรับผู้เขียนนะครับ เป็นบทความที่ทำให้ผมเข้าใจ ได้ดดยง่ายและมีประโยช์นอย่างมาก ทั้งทางตรงทางอ้อมสำหรับผม

    ขอบคุณนะครับ บทความของคุณ แจ๋มมากครับ

ใส่ความเห็น

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Twitter picture

You are commenting using your Twitter account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Connecting to %s

%d bloggers like this: