กูเกิลจ่ายหุ้น1.65พันล้านดอลล์ควบยูทิวบ์

ยุคนี้เป็นเหมือนยุคล่าอาณานิคมอะไรสักอย่างนะครับ คุณ ๆ ว่าไหม Google take over มาหลายรายแล้ว ไม่ว่าจะเป็น Keyhole (Google Earth), Blogger (บริการ Weblog), Writely (หนึ่งในบริการ Google spreadsheet) ส่วน Yahoo! ก็ take มาหลายบริษัทอย่างเช่น Overture, Inktomi Ebay ซื้อ Skype ฯลฯ

ลึก ๆ อยากให้บ้านเรามีอะไรอย่างนี้บ้างจังเลย มีนวัตกรรมอะไรใหม่ ๆ ที่ช่วยให้ชีวิตเราดีขึ้น เยอะ ๆ

—————————-
กูเกิลจ่ายหุ้น1.65พันล้านดอลล์ควบยูทิวบ์

โดย ผู้จัดการออนไลน์ 10 ตุลาคม 2549 12:52 น.

กูเกิลส่งหุ้นซื้อกิจการยูทิวบ์ (YouTube) คิดเป็นมูลค่า 1,650 ล้านเหรียญสหรัฐแล้ว โดยถือเป็นการควบรวมสองกิจการที่มีชื่อเสียงอย่างมากในวงการอินเทอร์เน็ตเข้าด้วยกัน

อีริค ชมิดต์ ซีอีโอกูเกิลกล่าวว่า “ทีมงานยูทิวบ์สามารถสร้างเว็บไซต์ให้แข็งแกร่งและกลายเป็นสื่อที่ทรงพลังบนโลกอินเทอร์เน็ตได้อย่างน่าตกตะลึง ซึ่งสอดคล้องกับเป้าหมายของกูเกิลที่ต้องการจัดการข้อมูลข่าวสารของโลกใบนี้ให้เป็นระบบ และเป็นแหล่งข้อมูลที่ผู้บริโภคสามารถเข้ามาใช้ให้เกิดประโยชน์ได้ จากการเจรจาในวันนี้ การร่วมมือกันระหว่างกูเกิลและยูทิวบ์จะช่วยผลักดันบริการด้านมีเดียเอ็นเตอร์เทนเมนท์ส่งตรงถึงผู้ใช้บริการ, เจ้าของคอนเทนต์ และนักโฆษณาได้อย่างตรงใจมากขึ้น”

ด้านนายชาด เฮอร์ลีย์ ผู้ก่อตั้งร่วมเว็บไซต์ยูทิวบ์กล่าวว่า “เว็บไซต์ชุมชนของเราเน้นการถ่ายทอดข้อมูลที่แปลกใหม่ และเน้นความสดของเนื้อหา เพื่อหวังจะเปลี่ยนแปลงมุมมองของผู้บริโภคที่มีต่อสื่อ การร่วมทำงานกับกูเกิลถือเป็นจุดที่ส่งเสริมให้ยูทิวบ์ก้าวหน้าขึ้นอีกขึ้น โดยเราสามารถเข้าถึงเทคโนโลยีระดับโลกของผู้นำในวงการอินเทอร์เน็ต เพื่อใช้ในการถ่ายทอดประสบการณ์ด้านความบันเทิงแก่กลุ่มเป้าหมายของยูทิวบ์ และเป็นการสร้างโอกาสให้กับผู้ร่วมลงทุนกับยูทิวบ์ได้มากขึ้นด้วย”

เว็บไซต์ยูทิวบ์ (YouTube) เป็นผู้ให้บริการด้านวิดีโอแชร์ริ่งที่เผยแพร่คลิปไฟล์หลากหลายชนิด ตั้งแต่โฮมวิดีโอ (วิดีโอที่ผู้อัปโหลดถ่ายเอง) ไปจนถึงตัวอย่างภาพยนตร์จากฮอลลีวู้ด หรือรายการโทรทัศน์ ภาพคอนเสิร์ตต่าง ๆ ก่อตั้งขึ้นในเดือนกุมภาพันธ์ 2005 ปัจจุบันมีปริมาณข้อมูลอัปโหลดขึ้นเว็บไซต์ประมาณ 100 ล้านคลิปต่อวัน ความโดดเด่นของยูทิวบ์ดึงดูดใจนักท่องเน็ตได้ไม่ต่ำกว่า 72 ล้านคนในเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา เพิ่มขึ้นจากเดือนเมษายนที่มีผู้เข้าชม 27 ล้านคนกว่าหนึ่งเท่าตัวเลยทีเดียว (อ้างอิงจาก comScore Networks)

“การควบรวมครั้งนี้ถือเป็นวิวัฒนาการของวงการอินเทอร์เน็ตอีกก้าวหนึ่ง” ชมิดต์กล่าว

อย่างไรก็ดี หากการควบรวมครั้งนี้เสร็จสิ้น ทีมงานของยูทิวบ์จำนวน 65 ชีวิตจะยังคงทำงานอยู่ที่สำนักงานใหญ่ของบริษัทในเมืองซานบรูโน แคลิฟอร์เนียต่อไป

นักวิเคราะห์ต่างให้ความเห็นต่อการเข้าซื้อกิจการของยูทิวบ์ในครั้งนี้ว่า จะทำให้กูเกิลสามารถสร้างรายได้จากค่าโฆษณาออนไลน์เพิ่มขึ้นอีกอย่างแน่นอน และยังทำให้ชื่อของกูเกิลเข้าไปอยู่ในวงการวิดีโอแชร์ริ่งได้อย่างไม่ยากเย็น หลังจากที่ทางบริษัทกูเกิลพัฒนาบริการด้านวิดีโอขึ้นมาเช่นกันแต่ไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร

กูเกิลให้เหตุผลของการเจรจาควบรวมครั้งนี้ที่จ่ายเป็นหุ้นแทนนั้นก็เพื่อลดภาษีที่ทางเจ้าของเว็บไซต์ยูทิวบ์จะต้องจ่ายนอกจากนั้น ยังช่วยให้การเทคโอเวอร์ของกูเกิลมีต้นทุนลดต่ำลงด้วย

ในเดือนกันยายนที่ผ่านมา ยูทิวบ์ครองตำแหน่งเว็บไซต์ที่ชาวอเมริกันเข้าชมวิดีโอมากที่สุด 46 เปอร์เซ็นต์ ตามมาด้วยมายสเปซ 21.2 เปอร์เซ็นต์ อันดับสามเป็นของกูเกิลวิดีโอ 11 เปอร์เซ็นต์ และบริการเอ็มเอสเอ็มวิดีโอของไมโครซอฟท์เป็นที่ 4 ด้วยจำนวนผู้เข้าชม 6.8 เปอร์เซ็นต์ สุดท้ายกับยาฮูวิดีโอที่มีผู้ชมคิดเป็น 5.6 เปอร์เซ็นต์

เซอร์จี้ บริน หนึ่งในสองผู้ก่อตั้งกูเกิลกล่าวว่า “ยูทิวบ์เปรียบเสมือนสิ่งที่ทำให้เราย้อนรำลึกไปถึงวันก่อตั้งกูเกิล”

จอช เบอร์นอฟฟ์ (Josh Bernoff) นักวิเคราะห์จากฟอร์เรสเตอร์ รีเสิร์ชให้ความเห็นว่า “ข้อดีอีกประการหนึ่งของการควบกิจการในครั้งนี้คือ ยูทิวบ์สามารถใช้เทคโนโลยีด้านซอฟต์แวร์ของกูเกิลตรวจสอบหาคลิปวิดีโอละเมิดลิขสิทธิ์ได้อย่างทันท่วงที ก่อนจะตกเป็นจำเลยในคดีละเมิดลิขสิทธิ์ ซึ่งความสามารถด้านซอฟต์แวร์นี้เป็นสิ่งที่กูเกิลเข้ามาช่วยเติมเต็มให้กับยูทิวบ์ได้อย่างเหมาะเจาะ”

สำหรับไมโครซอฟท์ที่ดูเหมือนระยะหลังจะตกเป็นรองคู่แข่งในวงการอินเทอร์เน็ตหลาย ๆ ด้านนั้นก็ได้ส่ง วิทนีย์ เบิร์ก โฆษกของไมโครซอฟท์ออกมาให้ความเห็นเกี่ยวกับบริการวิดีโอแชร์ริ่งดังกล่าวว่า ทางไมโครซอฟท์ได้มีการพัฒนาบริการชื่อ Soapbox ซึ่งมีความคล้ายคลึงกับยูทิวบ์ หรืออาจกล่าวได้ว่าเป็นเทคโนโลยีที่ทางไมโครซอฟท์ใช้เวลาหลายเดือนในการสรรสร้างเพื่อพัฒนาออกมาเป็นบริการของตนเองดังกล่าวก็ว่าได้ เพื่อเป็นการยืนยันแน่นอนว่าทางบริษัทเลือกที่จะใช้เทคโนโลยีของตนเองมากกว่าการซื้อกิจการของผู้ผลิตรายอื่นดังเช่นที่กูเกิลใช้

ใส่ความเห็น

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Twitter picture

You are commenting using your Twitter account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Connecting to %s

%d bloggers like this: