Blogger กับประเทศไทย (ขอเกาะกระแส xxx หน่อย)

วันก่อนมีบรรดาเว็บมาสเตอร์ที่เมืองไทย ping มาถามว่าผมรู้เรื่อง Kapook.com หรือยัง ผมก็บอกว่าโลกออนไลน์มันเล็ก ผมเข้าอินเทอร์เน็ตก็ทราบข่าวเป็นระยะๆ อยู่แล้ว (แสดงว่าที่เมืองไทยยังคิดว่าการที่ผมอยู่ต่างประเทศจะส่งผลให้ผมตามวงการเว็บที่เมืองไทยไม่ทันหรืออย่างไร?) ว่ากรณี xxx.kapook.com ถูกบรรดา Blogger ในเมืองไทยวิพากษ์กันมาก พอหลุดขึ้นไปบนเว็บผู้จัดการออนไลน์ก็เลยเป็นเรื่องใหญ่ขึ้นมา จนคุณเอ๋อ ปรเมศวร์ ในฐานะเว็บมาสเตอร์ของ Kapook.com ต้องแสดงสปิริตลาออกจากการเป็นนายกสมาคมผู้ดูแลเว็บไทย เพราะมันเป็นเรื่องขัดแย้งกับบทบาททางสังคมของคุณเอ๋อเอง

ส่วนตัวผมมองว่าประเด็นที่น่าสนใจคือบทบาทของ Blogger ในการทวงถามเรื่องของจริยธรรมบนโลกอินเทอร์เน็ต

สมัยสัก 4-5 ปีก่อนใครจะไปคาดคิดว่าอินเทอร์เน็ตจะมีบทบาทสูงในการขับเคลื่อนสังคมข่าวสารอย่างวันนี้ ถ้าใครนึกภาพไม่ออกว่าอินเทอร์เน็ตเปลี่ยนโลกอย่างไร ลองนึกถึงเหตุการณ์เหล่านี้นะครับ

1. ประชาชนอัพโหลดรูปภาพคืนวันรัฐประหารขึ้น Flickr.com, ทหารสั่งปิดทีวี แต่คนออนไลน์คุยกันทาง Windows Live Messenger (ว้าแย่จัง Yahoo! Messenger ของผมก็ดีนะ ทำไมคนไทยใช้น้อยจัง), คนแจ้นเข้า Pantip.com เกิดการถกเถียงขึ้นในวงกว้าง จน server รับแทบไม่ไหวทาง
2. การต่อสู้ของคุณทักษิณทาง Truethaksin.com และ Thaksin.wordpress.com
3. สื่อพลเมืองที่มีรูปแบบเหมือน OhMyNews ในเมืองไทยแบบ MBlog ของกลุ่มผู้จัดการ OkNation ของกลุ่มเนชั่น ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นการปรับตัวของสื่อกระแสหลักปรับเข้ามาสู่โลกออนไลน์

ในวันนี้จึงไม่ใช่เรื่องแปลกอะไรที่เราจะเห็นว่า Blogger มีอิทธิพลมากขึ้น และการที่ Blogger แต่ละคนจะมีอิทธิพลมากขึ้นก็เนื่องมาจากความคิดความอ่านของคนๆ นั้นเอง อยู่ที่การนำเสนอให้น่าสนใจ

ผมเคยมีโอกาสคุยกับคุณภิญโญ ไตรสุริยธรรมา บรรณาธิการนิตยสารโอเพ่น (ไม่สิ ตอนนี้ต้องบอกว่า Onopen.com) ในเรื่องของอินเทอร์เน็ตในงานเสวนาทางความคิดที่หนึ่ง คุณภิญโญก็บอกว่าคนสมัยนี้โชคดีนะ สมัยก่อนถ้าคิดจะมีสื่อของตัวเองต้องใช้เงินมหาศาล แต่สมัยนี้มีอินเทอร์เน็ตก็เป็นเจ้าของสื่อได้แล้ว

แต่ในภาพรวมใหญ่ๆ แล้วผมว่าเรื่องนี้ก็ดีตรงที่ว่าสังคมไทยเราเริ่มมีการทวงถามจริยธรรมและความรับผิดชอบผ่านทางช่องทางของอินเทอร์เน็ต ซึ่งมันทำให้สังคมดีขึ้น อย่างน้อยเราก็รู้สึกได้ว่าแท้จริงแล้วนอกจากกลไกการควบคุมสื่อของผู้มีอำนาจ เรายังพอมีช่องทางที่จะแสดงความคิดเห็นของเราได้มากกว่าเดิม แต่การที่เราจะก้าวขึ้นมาแสดงความคิดเห็นและมีคนเชื่อถือเท่ากับสื่อในกระแสหลักหรือไม่ ก็อยู่ที่ความสามารถของ Blogger ผู้นำเสนอนั่นเอง

4 Replies to “Blogger กับประเทศไทย (ขอเกาะกระแส xxx หน่อย)”

  1. ผมกังครับปอง จะขอสัมภาษณ์ปองลงคอลัมน์ @Work
    ตีมคือคนทำงานไทยโกอินเตอร์ครับ
    ปองเดี๋ยวนี้ออนเอ็มหรือเปล่าครับ เมล์ไหนนะ
    ที่ออสซี่ทิปไม่ใช่แล้วหรือครับ ?
    ติดต่อมาทีนะ somkid_a@hotmail.com ขอบคุณครับ

  2. หวัดดีค่ะปอง พี่จูเพิ่งได้มีโอกาสเข้ามาอ่านblogของปองใหม่ หลังจากที่ทิ้งระยะเวลาในการติดตามน้องชายว่าเป็นอยู่อย่างไรบ้าง แต่ตอนนี้รู้ว่าปองก็ไม่เคยหยุดติดตามข่าวคราวweb เมืองไทยเลย ดีใจที่ได้รู้เรื่องราวที่หากไกลจากพี่ และก็จะติดตามน้องชายคนนี้ไปเรื่อยๆนะ ว่างๆ mail มาคุยกันบ้างนะ เพื่อนๆน้องๆ1188 คิดถึงเสมอ

  3. นับว่าเป็น Free Expression บน Internet อย่างเสรีและเปิดกว้างสำหรับทุกๆคน กาลครั้งหนึ่งเคยมีคนทำ Freenet เพื่อการนี้ แต่ว่าโลกถูกปฏิวัติอย่างรุนแรงด้วย Social community อย่าง Web 2.0 ทีนี้ก็เป็นงานหนักของคนเซ็นเซอร์ แต่เรื่องบางอย่างก็เป็นสิทธิของมนุษยชาติที่จะแสดงความคิดว่าไหมครับ 🙂

    ยินดีที่ได้รู้จักนะครับ ว่างๆมาเที่ยวฝั่งที่ผมอยู่อาศัยบ้างนะครับ 🙂

ใส่ความเห็น

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Connecting to %s

%d bloggers like this: