ภาพจาก photostreme ของ apesara
ช่วงนี้กำลังเรียนรู้อะไรเยอะมาก เพราะต้องรวบรวมพลังสมองผนึกความคิดในการเขียนหนังสือออกมาให้ได้เล่มหนึ่ง แต่พอยิ่งเขียนไป กลับพบว่าจริงๆ แล้วองค์ความรู้ที่มีอยู่ในหัวเรามันเป็นเพียงความรู้ที่ “จำลอง” มาจากซิลิคอนวัลเล่ย์ (ผสมกับอะไรแบบไทยๆ) ไม่ก็เหมือนตำราอาจารย์คอตเลอร์ อาจารย์เซ็ต โกดิน อาจารย์คนนั้นคนนี้ซะมากกว่าที่จะถ่ายทอดอะไรออกมาด้วยประสบการณ์และแนวคิดของเราเองจริงๆ
แนวคิดที่ว่าจะเอามาใส่หนังสือตอนแรก มาอ่านตอนนี้ กลับเป็นแบบที่ฝรั่งเขามองกัน ซึ่งไม่ได้มีอะไรสดใหม่เลย ถ้าจะเขียนอย่างนี้สู้แปลหนังสือขายคงจะดีกว่า เลยกลายเป็นว่าหนังสือที่แรกเริ่มเดิมทีผมคิดว่าก็แค่รวบรวมมาจากที่ต่างๆ แล้วทำให้เสร็จได้ภายในสิ้นเดือนนี้คงไม่เสร็จ ถ้าหากว่าเจ้าของสำนักพิมพ์ผ่านมาอ่าน ก็ขอโทษทีเพื่อน! เราอยากเขียนดีๆ แล้วค่อยส่ง ไม่ว่ากันนะ
บทเรียนอีกอย่างที่ได้จากการเริ่มเขียนหนังสือก็คือ การเขียนหนังสือไม่ใช่เป็นเพียงแค่การถ่ายทอดออกไป หากแต่ยังเป็นการตรวจและสำรวจค้นลึกเข้าไปในคลังความรู้ของเราด้วยว่าเราคิดอะไร อย่างไร ได้แค่ไหนกับสิ่งที่เราเคยคิดว่าเรารู้ดีกว่าใครหลายๆ คน แท้จริงเราอาจไม่เคยรู้อะไรเลยก็ได้ จากนี้ไปสู้ว่าเรียนรู้อะไรได้ด้วยตัวเองแล้วค่อยเอามาแชร์ น่าจะดีกว่าการไปลอกฝรั่งตั้งเยอะ
ถึงเวลา ‘เปลี่ยน’ ต้องคิดใหม่ซะแล้ว
จากนี้ไปสู้ว่าเรียนรู้อะไรได้ด้วยตัวเองแล้วค่อยเอามาแชร์ น่าจะดีกว่าการไปลอกฝรั่งตั้งเยอะ–ถูก!!!
เรื่องลอกใครนั้น ส่วนใหญ่เราก็ลอกด้วยการ “เรียนรู้” มา แล้วอยู่ในฐานข้อมูลความรู้ของเรา แม้ไม่ใช่ฝรั่ง แต่ถ้าลอก เราลอกจีน ลอกไทยกันเองก็เยอะครับ ถ้าการลอกนั้น ไม่ได้เผยแพร่ในลักษณะลอก แต่เป็นการสังเคราะห์ใหม่ ผมว่าก็ยังให้อะไรดีๆได้นะ
ส่วนเรื่องงานเขียน มันยากกว่าที่คิดนั้น
เห็นด้วยอย่างยิ่ง 55
อะไรที่เห็นว่าง่ายๆ ตอนยังไม่ได้ทำเนี่ย ..
ทำให้หลาบในการสบประมาท ในตอนที่ได้ลองทำเลยครับ ^-^
เห็นด้วยกับคุณลิงใจดีนะครับว่าการเรียนรู้มีได้หลายแบบ แม้ว่าต่อมาเราจะมีประสบการณ์มากขึ้นแล้วเอาประสบการณ์เรามาแชร์ มันก็อาจจะไม่แตกต่างจากคนอื่นก็ได้ แต่ผมว่ามันก็ยัง “มันส์” และได้รสชาติเพราะเราผ่านเรื่องนั้นมาจริงๆ
เห็นด้วยกับคุณลิงใจดีนะครับผม
I’m impressed! You’ve maangde the almost impossible.