วิธีฝึกดูจิตด้วย Twitter

Screen shot 2009-10-18 at 5.23.52 PM

วันนี้อ่านหนังสือ “เคล็ดลับดับทุกข์” ของ ว.วชิรเมธี ในหนังสือเล่มนี้ก็เป็นการเผยแผ่ธรรมะทั่วๆ ไป แต่มีอยู่ตอนหนึ่งซึ่งเกี่ยวกับเรื่องการดูจิต การตามอารมณ์ ผมอ่านแล้วรู้สึกว่าเอามา apply ใช้กับ Twitter ได้เลยเอามาเขียนแชร์กันตรงนี้ บอกตามตรงนะครับว่าไม่แน่ใจว่าวิธีการประยุกต์ของผมมันจะเวิร์คหรือเปล่า แต่มันก็น่าลองนะ… ใครได้ผลอย่างไรเอามาบอกกันด้วย

ก่อนที่จะเข้าเรื่อง ขอให้อ่านบทความส่วนหนึ่งที่ผมขออนุญาตคัดลอกมาลงตรงนี้ก่อนนะครับ คัดมาจากหน้า 65 ชื่อตอนว่า “ตื่นรู้อยู่กับปัจจุบันขณะ”

– – – – – – – – – –

“หลายท่านในที่นี้เคยปฎิบัติธรรม หลายท่านก็เป็นศิษย์มีครู ฟังมาแล้ว 4 เรื่องอาจจะเด็กๆ อะไรก็ไม่รู้ ก็พูดตามเขา เรื่องนี้สำคัญนะ คือฝึกจิตให้เกิดรู้ ฝึกใจให้เกิดรู้นี่ฝึกยังไง ก็คือให้เรามีสติรู้เนื้อรู้ตัว คนโบราณเวลาที่ลูกหลานจะไปไหนเรียกลูกหลานมาใกล้ๆ ลูบหัวแล้วว่าลูกทำอะไรให้รู้เนื้อรู้ตัวนะ

“คำว่ารู้เนื้อรู้ตัวนี่สำคัญนะ ทางเมืองเหนือจังหวัดบ้านเกิดอาตมา เชียงราย เชียงใหม่ จะมีคำอยู่คำหนึ่งสำคัญมาก ภาษาเชียงราย เชียงใหม่นะ ฮู้คิงก่อ ก็คือรู้ตัวบ้างไหม มันลึก ก็คือ What are you doing? (ตรงนี้เองที่ตรงกับ Twitter – ผู้คัดลอก) คุณกำลังทำอะไร รู้ตัวไหม คุณกำลังด่าฉันฉอดๆๆ รู้ตัวไหม ถ้ารู้ตัวมันจะไม่ด่านะ ทำเป็นเต้นแร้งเต้นกา ฟาดงวงฟาดงาต่อหน้าธารกำนัลนี่ ถ้ารู้ตัวมันไม่ทำใช่ไหม แต่คนส่วนใหญ่ไม่รู้เนื้อรู้ตัว

ทำอย่างไรถึงจะรู้เนื้อรู้ตัว คือมีสติอยู่ตลอดเวลา ทำอย่างไรก็ต้องฝึกใจให้เกิดรู้ เพราะฉะนั้นคำทักทายของล้านนา ฮู้คิงก่อของคนโบราณนี่แสดงว่าเป็นคนที่ลึก ลึกพอๆ กับที่คนภาคใต้ร้องเพลงกล่อมเด็กแล้วมีนิทานอยู่ในนั้น ท่านพุทธทาสเขียนว่า มะพร้าวนาฬิเก ต้นเดียวโนเน กลางทะเลขี้ผึ้ง ฝนตกไม่ต้อง ฟ้าร้องไม่ถึง กลางทะเลขี้ผึ้ง ถึงได้แต่ผู้พ้นบุญเอย เพลงกล่อมเด็กทางใต้ก็จะมีนิทาน ในภาษาเหนือที่ว่าฮู้คิงก่อก็มีเรื่องของการเจริญสติของล้านนา ลึกไหมละ”

– – – – – – – – – –

อ่านจากบทความข้างต้น ถ้าเราจะมาลองถามใจตัวเราเองมาถามกันว่า “ฮู้คิงก่อ” แบบท่านวอบ้าง ก็มาลองใช้ Twitter กันดูบ้างเป็นไร ผมเห็นเพื่อนๆ หลายคนชอบใช้ Twitter อัพเดทเรื่องราวของตัวเองแทบจะทุกอากัปกิริยา เช่น เดินไปตลาดก็ทวีต เดินกลับมาถึงบ้านก็ทวีต กินข้าวก็ทวีต แม้กระทั่งกลับบ้านเข้าส้วมก็ยังทวีตเลย อย่ากระนั้นเลย เราลองปรับ mindset ของเราในการใช้ Twitter เพื่อประโยชน์ในการฝึกดูจิตของเราบ้างไหม?

วิธีการฝึกดูจิตด้วย Twitter ไม่มีอะไรมากครับ เวลาเราเข้ามาที่ Twitter ให้เราลองตามอารมณ์ตัวเองว่าตอนนี้เรารู้สึกอย่างไร คิดอะไรอยู่ แล้วทวีตออกไป เช่น ตอนนี้ห้าโมงเย็น ตอนนี้ผมกำลังเขียนบล็อกเรื่องการดูจิตด้วย Twitter ก็ทวีตไป เสร็จแล้วตามด้วย “รู้สึกตื่นเต้นที่ได้เอาธรรมะมาลองผูกกับ Twitter อยากรู้จริงว่ามันจะเวิร์คสักแค่ไหน” เสร็จแล้วให้มองลึกลงไปในใจว่าเรารู้สึกอย่างไรก็ทวีตลงไป

ท้ายที่สุดผ่านไปแล้วสักสี่ห้าทุ่มก่อนจะนอนลองกลับมาดูว่าตัวเราได้ทวีตอะไรไปบ้างในแต่ละวัน เหมือนกับเป็นการทบทวนว่าวันนี้เรามีอารมณ์อะไรบ้าง เราทวีตไปบ่อยครั้งนั้นมีประโยชน์อันใด สนุก รู้สึกดี รู้สึกดีที่ได้บอกให้เพื่อนรู้ว่าเราทำอะไรอยู่ หรือรู้สึกดีที่ได้แชร์เรื่องดีๆ กับคนทั่วไป บอกกับตัวเราให้ได้ว่าทั้งวันที่เราทวีตไปนั้น มันตรงกับใจของเราหรือเปล่า แล้วมีข้อความไหนบ้างไหมที่เราอ่านแล้ว “เฮ้ย เราทวีตอย่างนั้นออกไปได้อย่างไร?” อย่างผมเองเจอกับตัวแล้วครับ เมื่อวานไปดูหนังเรื่องรถไฟฟ้ามาหานะเธอมา ที่โรงหนังเขาฉายหนังโฆษณานานมาก เพราะหนังดัง ผมก็หงุดหงิดเลยทวีตด่าออกไปว่า “โรงหนังนี้ห่วยมาก ถือว่าหนังดังเลยโฆษณานาน รอมาทั้งกว่า 40 นาทีแล้ว” แล้วผมก็สะใจที่ได้ทวีต

แต่พอมาดูตอนนี้รู้สึกได้เลยว่า เราควรจะต้องฝึกอีกเยอะเลย ฝึกให้ Twitter เป็นเครื่องมือตามดูอารมณ์เรานะครับ ไม่ใช่เครื่องมือระบายอารมณ์แบบที่ผมทำเมื่อวาน
ลองดูนะครับ ได้ผลอย่างไรบอกกันด้วย

16 Replies to “วิธีฝึกดูจิตด้วย Twitter”

  1. เป็นมุมมองที่แปลกออกไปน่ะครับ ..
    แต่เดิมผมมองเรื่อง Twitter เ็ป็น datalog สำหรับชีวิตเสียมากกว่า ถ้าหากว่าเครื่องจักรเกิดปัญหาอะไรจะเอา datalog มาดูว่ามันมีการบันทึกอะไรผิดปกติหรือไม่ ถ้าหากว่าคิดแบบนี้แล้ว คนก็เหมือนกับเครื่องจักร (ประเด็น datalog) ถ้าหากว่าจะดูว่าเรามีปัญหาอะไรหรือไม่ก็มาไล่เก็บอ่าน datalog ว่ามันเกิดอะไรขึ้นบ้าง ณ ตอนนั้นคิดอะไรออกมาไป ณ ตอนนั้นกำลังทำอะไร หรือ ณ ตอนนั้นบอกคนอื่นออกไปว่าอะไร ประเด็นสุดท้ายจะเป็นเรื่องที่ผมคิดว่า คนส่วนใหญ่จะใช้กัน คือ เพื่อบอก”คนอื่น”ว่าตัวเองทำอะไรยังไงคิดอะไรยังไงอยู่ ณ เวลาหนึ่งๆ

  2. ขอบคุณทุกคนที่เข้ามาอ่านนะครับ สถิติคนอ่านบล็อกนี้ปกติชอบอ่านเรื่อง iPhone แต่ตอนนี้ธรรมะกับทวิตเตอร์แซงซะแล้ว

    ได้ผลอย่างไรแจ้งกันด้วยนะจ๊ะ

  3. ตอนนี้ twitter เหมือนกับกระดานขีดเขียนระบายอารมณ์ เราอารมณ์ไหนก็จะใส่ข้อความอัพเดตสถานะตัวเองลงไปทันทีทันใดโดยไม่ได้คิด แล้วมันก็กลับมาแก้ไขไม่ได้แล้ว

    สมัยก่อนเคยดูหัวเอ็ม (Windows Live Messenger) ถ้าหงุดหงิด โมโห ก็จะดูจากหัวเอ็ม ก่อนเดินไปคุย ใครหงุดหงิดเจ้านายอะไรก็จะบ่นผ่านหัวเอ็ม เจ้านายก็เห็นแหล่ะว่าเราบ่น เช่น “ทำงานตามเงินเดือน” “รับทำงานตามสั่ง” คำพวกนี้ผมก็เคยขึ้นหัวเอ็มไว้ จะรู้กันเฉพาะในแผนก คนอื่นข้างนอกไม่รู้หรอกว่าคืออะไร แต่ทวิตเตอร์นั้นต่างกัน เราจะทำแบบนั้นไม่ได้ บางคนรู้ว่าเจ้านาย follow อยู่ ใช้อารมณ์ในการทวิต จริงๆกลับมาย้อนดู มันช่างดูนิสัยเด็กจริงๆเลย

    เริ่มยาว เดี๋ยวเขียนบทความบ้างดีกว่า 🙂

  4. ก่อนทวีตผมคิด 3 อย่าง ได้ประโยชน์กับใครไหม? (ถ้าใช่ หรือขำ ๆ ก็ทำ) ระบายอารมณ์ใช่ไหม? (ถ้าทำแล้วดีขึ้นก็ทำ) และ เอาสนุกไร้สาระ (ก็บ้าบออ่ะ)

    เกลียดอารมณ์แบบ รู้ว่าโกรธ แต่ห้ามไม่ได้ แบบนี้เรียกว่า ทัน แต่ยังไม่เร็วพอสินะครับ

ส่งความเห็นที่ jakrapong ยกเลิกการตอบ

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Connecting to %s

%d bloggers like this: