มาทดลองสร้างเครือข่ายนักข่าวพลเมืองกันดีกว่า #thaireport

วันนี้ผมนึกสนุกอยากลองสร้างเครือข่ายของนักข่าวพลเมือง คำอะไรกันเนี่ย? “นักข่าวพลเมือง”

เอาที่ผมเข้าใจ มันก็คือการแปลตรงตัวจาก Citizen Journalist นั่นแหละ สมัยนี้เรามีเทคโนโลยี เรามีอินเทอร์เน็ต ข้อมูลข่าวสารต่างๆ “โดยส่วนหนึ่ง” ไม่ได้อยู่ในกำมือของสื่อมวลชนแบบดั้งเดิม หรือที่เราเรียกกันทั่วๆ ไปว่า Mass Media เหมือนเมื่อก่อน เคยคุยกับเพื่อนๆ ในแวดวงโฆษณาและบรรดา Geek หลายๆ คนจะให้ความเห็นว่าผู้บริโภคไทยยังไม่ได้พัฒนาไปถึงขั้นเป็น “Prosumers” (ผู้บริโภคที่ทั้งผลิตสารและเป็นผู้รับสาร) กันหมด ไม่ได้เก่งฉกาจฉกรรจ์ขนาดเข้าใจเรื่อง Social Media กันไปหมด แต่สื่อดั้งเดิมโดยเฉพาะสื่อหนังสือพิมพ์ที่จับกลุ่มคนชั้นกลางไปถึงชั้นบน ต่างก็ได้รับผลกระทบมากขึ้น เพราะข่าวออนไลน์ในเมืองไทยนั้นมีให้อ่านกันฟรี กระดาษขายได้น้อยลง บวกกับปีสองปีนี้เศรษฐกิจย่ำแย่ด้วย ใครก็คงไม่ทุ่มโฆษณา

เอาล่ะ ในเมื่อเนื้อหาต่างๆ มีให้อ่านกันฟรีๆ คนก็เลยคิดกันว่าอะไรที่มันออนไลน์ มันเป็นของฟรี แต่ความจริงก็รู้กันอยู่ว่าค่าจ้างนักข่าวเอย ค่ากล้องค่าอุปกรณ์ ค่ารถ เงินดาวน์เงินเดือน ภาษี การจัดซื้อจัดจ้างในองค์กรข่าวมันมีอยู่ และไม่ใช่ถูกๆ ส่วนไอ้ครั้นบริษัทข่าวจะไม่ทำอะไรออนไลน์เลย ทำแต่สื่อเดิมๆ นักลงทุนได้ด่าเปิง เพราะนักลงทุนเชื่อว่าอนาคตยังไงเสียโทรศัพท์มือถือ 3G อุปกรณ์ประเภท Tablet พวก eBook มันมาแน่ๆ แล้ว เทรนด์ในเมืองนอกแม้ยังไม่ชัดมาก แต่ก็ชัดพอที่จะทำให้บริษัทข่าวต่างๆ ในบ้านเรากระเทือนได้

ในเมื่อทุกอย่างมันฟรี รูปแบบของธุรกิจด้านข้อมูลข่าวสารแบบเดิมมันก็ยากที่จะทำเงิน ยากจริงๆ ครับ คิดกันหัวกบาลแทบแตกยังคิดยาก ผมเคยคุยกับพี่ๆ ในวงการข่าว วงการเพลง (คนโหลดบิตกันหมดแล้ว เลิกซื้อซีดี) วงการหนังสือ ตอนนี้หวังกันได้ไม่กี่แบบแล้ว

ข่าว – ค่ากระดาษ ค่าโสหุ้ยต่างๆ แพง คนมีทางเลือกอ่านข่าว รับข่าวที่ไหนก็ได้มากขึ้น หัวใจคือ Content แต่จะ delivery กันอย่างไรเท่านั้นเอง
เพลง – ซีดีขายไม่ออก หวังให้คนดาวน์โหลดกันทาง Mobile ไม่ก็ซื้อทาง Itunes รายได้หลักตอนนี้คือโฆษณา และคอนเสิร์ต
หนังสือ – เมื่อก่อนก็ไม่กระทบ ตอนนี้เร่ิมมี Kindle, Nooks โผล่มา เมื่อก่อนใช้ในเมืองไทยไม่ได้ ตอนนี้ใช้ในเมืองไทยได้แล้วนะครับ ร้านหนังสือเล่มๆ อาจได้รับผลกระทบบ้าง ไม่รุนแรง แต่ยังไงยอดพิมพ์อาจไม่เท่าเก่า คนดาวน์โหลดหนังสืออ่านกันได้ใน Device ตัวเดียมากขึ้น มองภาพง่ายๆ มันก็คล้ายกับการที่คนยอมรับ iPod, iPhone นั่นเอง การยอมรับพวก eBook reader คงไม่ใช่เรื่องยาก

บ่นมาซะยาว ผมเพียงแต่อยากจะบอกว่า โครงสร้างในธุรกิจสื่อ มีเดีย ข้อมูลข่าวสารแบบเดิมมันพังแล้วล่ะครับ การจะอยู่ต่อไปได้ ต้อง embrace เอา Social media เข้ามาเสริม เช่น มีข่าวก็ tweet ข่าวออกไปทาง Twitter, link กับ Facebook ปรับให้เนื้อหาอ่านบนมือถือ และ Device ใหม่ๆ ที่จะมีเข้ามาให้ได้

แล้วที่เล่ามาทั้งหมดนี้มันเกี่ยวกับนักข่าวพลเมืองยังไง? เกี่ยวครับ เกี่ยวตรงที่ว่าการที่มีอินเทอร์เน็ตเข้ามา ถ้ามองว่ามันเป็นอุปสรรคกับโครงสร้างธุรกิจเดิมๆ ก็ใช่ แต่คุณไปฝืนมันได้ไหม ก็ไม่ได้ ดังนั้นมุมมองที่เราน่าจะมองกันก็คือ เราจะรับมือกับความเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพอย่างไรต่างหาก และสำหรับวงการข่าวสารข้อมูลแล้ว ถ้าเราจะรับมือกับมันให้เหมาะ เราก็ใช้อินเทอร์เน็ตให้เป็นประโยชน์ในการเข้าถึงผู้รับสารให้มากขึ้น พร้อมกับสร้างแบรนด์สื่อในแบบใหม่ แบบที่คนติดตามได้ง่าย (Engaging brand) ไม่ใช่หนังสือพิมพ์แบบที่คนอ่านอย่างเดียว แต่ให้ผู้อ่านมีส่วนร่วมกับคุณด้วย

อย่างเช่น การใช้อินเทอร์เน็ตให้ประชาชนทั่วไปมีส่วนร่วมในการ “สร้างข่าว” ด้วย ให้คนรู้สึกว่าน่าติดตาม น่าบอกต่อ ถ้าเป็น Tweeple ถ้าคุณจะทำข่าว คุณก็ควรจะมี Follower สักอย่างน้อย 300-400 คน (ที่สนใจสิ่งที่คุณพูดจริงๆ) มี Personal brand ที่น่าติดตาม

นอกจากนี้ตอนนี้ลองนึกภาพคุณสุทธิชัย หยุ่น @suthichai นั่งทวีตทุกวัน จนเอาความสัมพันธ์ที่ตัวเองมี ไปลงในสื่อของตัวเอง คิดว่าหลายคนคงคุ้นๆ ภาพข้างล่างนี้นะครับ ล่าสุดเนชั่น และคมชัดลึกวันก่อนที่เอารูปชาว Twitter เมืองไทยตอนเด็กๆ ขึ้นปกวันเด็ก เรียกเสียงฮือฮาบนโลกอินเทอร์เน็ตได้ไม่น้อยเลย

ขอบคุณภาพจาก http://www.oknation.net/blog/kittinunn

สิ่งที่เกิดขึ้นก็คือชาว Twitter เอาไปบอกต่อกันอย่างสนุกสนานว่าภาพของฉันขึ้นปกเนชั่น ปกคมชัดลึกด้วยนะ

แล้วสำหรับเครือข่ายนักข่าวพลเมืองที่ผมว่าล่ะ จะทำยังไง? ผมต้องการใช้อินเทอร์เน็ตในการทำให้ชาวบ้านทั่วๆ ไปอย่างเราๆ ท่านๆ สามารถรายงานข่าวจากที่เกิดเหตุได้ครับ วันนี้ผมทดสอบโดยการ Retweet คนที่อัพโหลดภาพวิดีโอไฟไหม้ที่บุคลโล แล้วส่งไปให้ @suthichai วันก่อน http://bit.ly/4oCGoC และภาพที่ @worawisut รายงานภาพอุบัติเหตุรถยนต์ http://tweetphoto.com/8762828

แล้วก็ใส่แท็กว่า #thaireport

ลองดูนะครับ ผมอยากรู้ว่าพวกเราสามารถใช้อินเทอร์เน็ตรายงานข่าวเพื่อสังคมได้มากน้อยแค่ไหน ที่ผมเห็นภาพ ณ ตอนนี้ก็คือ ข่าวจะมีมิติที่ลึกมากขึ้น คนที่อยู่ในพื้นที่จะรายงานข่าวได้อย่างมีประสิทธิภาพมากกว่านักข่าวที่รับข่าวจากออฟฟิศ สิ่งที่ต้องคิดต่อไปคือ เมื่อเรามีกลุ่มคนที่นิยมการรายงานข่าวแล้ว เราจะตอบแทนเขาอย่างไร หรือเราไม่ต้องตอบแทนเป็นตัวเงิน? เพียงขอให้นักข่าวพลเมืองมีความแข็งแกร่งขึ้นมา มีอำนาจในการใช้ข่าวสารข้อมูลเท่าๆ กับสื่อใหญ่ มีความสามารถในการนำเสนอที่ดี

ลองมา “ทำกันดูเล่นๆ” นะครับ บางทีผลที่ตามมามันอาจจะ “ไม่ใช่เล่น” ก็ได้

P.s. การรับมือ Social Media อย่างมีประสิทธิภาพนั้น ผมแนะนำว่าอ่านหนังสือ Groundswell ของทาง Forrester ดูนะครับ เป็นหนังสือที่เหมาะกับบริษัทและองค์กรทั่วไปที่จะทำความเข้าใจภาพรวมของผลกระทบเชิงโครงสร้างที่เกิดจากอินเทอร์เน็ตในภาพใหญ่ๆ

2 Replies to “มาทดลองสร้างเครือข่ายนักข่าวพลเมืองกันดีกว่า #thaireport”

ส่งความเห็นที่ Josie ยกเลิกการตอบ

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Twitter picture

You are commenting using your Twitter account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Connecting to %s

%d bloggers like this: