คำตอบของ “คนหัวรั้น”

เมื่อวานเปิดไปอ่านบล็อก “คนชายขอบ” Fringer.org ของคุณสฤณี อาชวานันทกุล หรือ “พี่ยุ้ย” ตอนการเดินทางของ “คนชายขอบ” & ไฟล์เสียงจาก “คนหัวรั้น” ท่านอื่น ซึ่งพูดถึงประสบการณ์ส่วนตัวในการทำงานก่อนที่จะมาเป็นนักเขียน นักแปล มีชื่ออย่างปัจจุบันนี้

ลำพังถ้าเป็นประสบการณ์ของคนทั่วๆ ไป ก็อาจจะเฉยๆ แต่เรื่องราวของผู้หญิงคนนี้มีแง่คิดที่น่าสนใจในเรื่องของ Passion และความมุ่งมั่นดีครับ

พี่ยุ้ยจบจากมหาวิทยาลัยมีชื่อเสียงทั้งตรีที่ Harvard และโทที่ NYU ผ่านงานบริษัททั้งในและต่างประเทศ ทิ้งแพคเกจเงินเดือนซึ่งผมเชื่อว่า “มหาศาล” เพราะบริษัทที่พี่ยุ้ยเคยทำนั้นดังๆ ระดับโลกทั้งนั้น รวมทั้งเลิกการทำงานในระดับผู้บริหาร หันมาเป็นคนเขียนหนังสืออย่างเต็มตัว… พอผมอ่านจบ ฟังไฟล์เสียงแล้ว ก็มีคำถามผุดพรายขึ้นในใจ ผมเลยเขียนถามพี่ยุ้ยไปในบล็อก และพี่ยุ้ยก็ตอบมาในบล็อกเลย ทำให้ผมได้มุมมองอะไรใหม่ๆ เพิ่มด้วยอย่างคาดไม่ถึง เลยขออนุญาตพี่ยุ้ยเอามาแชร์ที่นี่ให้คุณผู้อ่านได้อ่านกันด้วยครับ ลองดูนะครับ ผมว่าคุ้มค่าจริงๆ (อ่านบล็อกและฟังไฟล์เสียงก่อนนะครับ)

ถ้าอ่านบล็อกของพี่ยุ้ยจบแล้วอ่านคำถามผมได้เลยครับ

Q: ขอบคุณสำหรับ Blog post นี้นะครับ ได้ฟังไฟล์เสียงบรรยายถึงประสบการณ์การทำงานของพี่ยุ้ยคราวนี้ ทำให้รู้จักตัวตนพี่ยุ้ยมากขึ้นครับ ชอบตรงที่พี่ยุ้ยพูดว่า “ตอนไปทำงานตอนเช้า ก็นึกแล้วว่าจะเขียนเรื่องอะไรดี ก็รู้สึกว่ามันไม่แฟร์กับบริษัทล่ะ รู้ว่าต้องลาออก”(ขอโทษทีนะครับในเครื่องหมาย “” อาจจะไม่ตรงที่พูด 100% แต่จำได้ว่าประมาณนี้) เพราะคนเราลงว่าถ้ามันมี passion กับอะไรสักอย่างจริงๆ passion นั้นมันจะฝังอยู่กับตัวเราจนเราร้อนรุ่มจนต้องทุ่มให้กับมันไม่วันใดก็คงวันหนึ่ง

มีคำถามครับ แล้วตอนที่พี่ยุ้ยคิดว่าจะลาออกมาเขียนหนังสืออย่างเดียวตอนนั้นลำบากใจไหม คือรู้ๆ กันอยู่ว่าการเป็นนักเขียนนักแปลในเมืองไทย รายได้ไม่ได้เยอะมาก พี่เคยทำงานรายได้มหาศาลมาก่อน (ดูจากรายชื่อบริษัทที่พี่เคยทำ ลองถามเพื่อนดูแล้วก็รู้เลยว่าเรตเงินเดือนมหาศาลมากๆ) หรือว่า…สำหรับพี่แล้วเงินเดือนที่เคยได้ไม่มีความหมายอะไรถ้าหากว่าเราไม่ ได้มีความสุขเท่ากับเวลาที่เราได้เขียนหนังสือ งานสอนและงานทำวิจัย คือชอบอะไรก็ทำอย่างนั้นเท่านั้น? แล้วชีวิตเรามันจะขาดหลักประกันอะไรไปเยอะไหมครับ ไม่ว่าจะเป็นพวกประกันชีวิต พวกหลักประกันสังคม ฯลฯ

A: อืม คิดว่าตัวเองไม่ได้เป็นคนที่กล้าเสี่ยงขนาดนั้นนะ ตอนที่ลาออกจากงานประจำที่สุดท้ายเมื่อปลายปี 2007 ก็ค่อนข้างมั่นใจแล้วว่าจะมีรายได้ค่อนข้างมั่นคงจากการแปลหนังสือ เขียนหนังสือ สอนหนังสือ และทำวิจัย สี่อย่างนี้ทุกปี ถ้าพี่เขียนหนังสืออย่างเดียวคงลำบาก เพราะไม่มีอะไรแน่นอน (ตื่นมาอาจจะไม่มี “อารมณ์เขียน” ก็ได้) แต่อีกสามอย่างมันมีรายได้มั่นคง และเนื่องจากพี่ทำทั้งสี่อย่างนี้อย่างสม่ำเสมอ(มาก) รายได้ก็ไม่ได้น้อยกว่าสมัยทำไอบีขนาดนั้นแล้ว โดยเฉพาะในเมื่อตอนนี้เริ่มมี back catalog คือมีหนังสือมากพอที่ทุกปีน่าจะมีบางเล่มได้จะพิมพ์ใหม่อยู่เรื่อยๆ คือมันมีรายได้มากพอที่จะสร้าง “หลักประกัน” ของตัวเองน่ะ ไม่ว่าจะเป็นเงินเก็บ ประกัน ฯลฯ 🙂

แต่ทั้งนี้เรื่อง lifestyle ก็น่าจะมีส่วนมากเหมือนกัน ถ้าพี่ใช้ lifestyle แบบชาวไอบี เช่น ไปเที่ยวรีสอร์ตแพงๆ ทุกเดือน กินข้าวร้านหรูทุกสัปดาห์ เข้าบาร์กินเหล้าแพง ฯลฯ แบบนี้ก็คงตัดใจทิ้งเงินเดือนมหาศาลได้ยาก 😉

พี่ว่ารายได้เป็นเรื่องสำคัญไม่ว่าจะทำอะไร เพราะถ้ารายได้น้อยมากมันก็มีความสุขยาก แต่ถ้าเรารักสิ่งที่ทำและบริหารจัดการการเงินเป็น (คือพยายามทำในทางที่มีรายได้) เราก็จะทำสิ่งนั้นเยอะๆ โดยอัตโนมัติ และยิ่งเราทำเยอะ รายได้มันก็น่าจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เอง

– – – – –
สำหรับคุณผู้อ่านที่อ่านแล้วชอบ ผมแนะนำให้อ่านหนังสือ “พลังของคนหัวรั้น” (The Power of Unreasonable People) เล่มนี้ของพี่ยุ้ยเพิ่มเติมครับ เป็นหนังสือที่ทำให้เราเข้าใจคำว่า Social Entrepreneur ได้ดีขึ้น คนที่คิดจะทำธุรกิจของตัวเองน่าจะได้อ่านกันครับ

2 Replies to “คำตอบของ “คนหัวรั้น””

  1. น่าสนอีกแล้ว หนังสือเล่มนี้ มีคิวสือหนังสือ สามสี่เล่มแล้วสิน่ะเดือนนี้
    เก่งได้อีก ของ ดร. ภูวรรณ, หนังสือแปล napkin กับ presentation zen

    แต่ว่าหหนังสืออ่านสอบ Cert. ยังไม่ได้แตะเลย เฮ่อๆ

  2. ขอบคุณที่แวะมาให้กำลังใจสม่ำเสมอ พี่แนะว่าอ่านทีละเล่มครับ จัดลำดับความสำคัญว่าเล่มไหนน่าสนใจที่สุดแล้วก็อ่านก่อน เพราะมันจะทำให้อ่านได้เร็ว ได้รับรู้อะไรใหม่ๆ เร็วขึ้น ส่วนเล่มที่อ่านลำบากก็ไว้ทีหลัง

ส่งความเห็นที่ jakrapong ยกเลิกการตอบ

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Connecting to %s

%d bloggers like this: