เมื่อสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา ผมไปเดินเล่นที่ศูนย์หนังสือจุฬาฯ หลังจากไม่ได้แวะไปเยี่ยมเยียนเสียนาน ขากลับก็ซื้อหนังสือ “ปัญญาญี่ปุ่น” โดยนักเขียนชื่อดัง ภิญโญ ไตรสุริยธรรมา หนังสือเล่มนี้อ่านแล้วแทบวางไม่ลงเลยทีเดียว จะบอกว่าบล็อกโพสต์นี้ผมเขียนเชียร์หนังสือก็คงไม่ผิด แต่ที่แน่ๆ เมื่อมันมาอยู่ในเว็บนี้มันต้องเกี่ยวกับเรื่องนวัตกรรมแน่นอน
ปัญญาญี่ปุ่น เป็นการเล่าเรื่องว่าเมื่อประเทศญี่ปุ่นแพ้สงคราม สังคมแตกแยก เศรษฐกิจล่มสลาย กษัตริย์ถูกท้าทาย ญี่ปุ่นพลิกฟื้นจากหายนะได้อย่างไร โดยคุณภิญโญได้เล่าประวัติศาสตร์ญี่ปุ่นผ่านวิกฤตอุตสาหกรรมยานยนต์ญี่ปุ่น ที่แรกเริ่มเดิมทีเกิดจากการผลิตรถเพื่อเป็นยานพาหนะสำหรับทหารญี่ปุ่นในการสงคราม และเมื่อสงครามเลิกแล้วบริษัทอย่างโตโยต้า ฮอนด้าเดินทางต่อไปอย่างไร ท่ามกลางสภาพความขัดสนทางสังคม
ประเด็นที่น่าสนใจสำหรับหนังสือเล่มนี้อยู่ตรงที่ จุดเปลี่ยนหรือจุดผลิกผันของญี่ปุ่นนั้นเกิดขึ้นจากจังหวะและโอกาส บวกกับความกล้าคิดกล้าทำ จนเกิดนวัตกรรม อย่างเช่น ตอนที่ญี่ปุ่นพบกับแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ ทำให้เกิดไฟไหม้ครั้งใหญ่ โซอิจิโร่ ฮอนด้า ผู้ก่อตั้งฮอนด้า ณ ขณะนั้นทำงานอยู่ในอู่รถยนต์แห่งหนึ่ง อู่นั้นได้รับความเสียหายมาก ช่างเก่งๆ ลาออกกันมาก ไม่ก็แยกย้ายกลับบ้านไป จากเดิมที่ไม่ค่อยมีโอกาสในการทำงาน ทำให้โซอิจิโร่มีโอกาสในการฝึกฝนทักษะ และแสดงฝีมือ
จากจุดนั้นเองโซอิจิโร่เริ่มเห็นว่าซี่ล้อรถยนต์ที่ทำด้วยไม้นั้น ถ้าหากประเทศญี่ปุ่นมีไฟไหม้ขึ้นมาอีกก็จะเสียหายได้ง่าย เขาจึงริเริ่มสร้างซี่ล้อจากอะลูมิเนียม ที่มีความแข็งแกร่งทานทนมากขึ้น จากนั้นเขาก็ร่ำรวย และหันมาจับตลาดอะไหล่รถยนต์ทำดีขึ้นเรื่อยๆ จนโตโยต้าขอถือหุ้นบริษัทเขาถึง 40%
จากนั้นในปี 1946 โซอิจิโร่ก็คิดถึงผลิตรถจักรยานยนต์ จากการที่เคยเห็นเครื่องยนต์ที่กองทัพญี่ปุ่นเคยใช้กับวิทยุสื่อสาร เขาเลยคิดว่าจำเครื่องยนต์ที่ว่านี้มาใช้กับจักรยาน อันเป็นจุดเริ่มต้นของการผลิตจักรยานติดเครื่องยนต์ (หลายคนอาจคุ้นเคยกับมอเตอร์ไซค์ฮอนด้า ดรีม) ทำยอดขายสูงถึง 100 ล้านคันทั่วโลก และท้ายที่สุดฮอนด้าก็ก้าวเข้าไปเป็นผู้ผลิตรถยนต์ผู้ตีตลาดโลกอีกคำรบหนึ่ง
ใน “ปัญญาญี่ปุ่น” ไม่ได้เล่าเพียงที่มาที่ไปของธุรกิจเท่านั้นนะครับ แต่หากยังเล่าถึงสภาพความรู้สึกของคนในญี่ปุ่นในช่วงเวลาแห่งความยากลำบาก ความมุมานะ ความพยายาม ตลอดจนแรงใจไฟฝันที่จะพลิกฟื้นประเทศ อาจจะด้วยทัศนคติแบบ Never-say-die นั่นแหละที่ทำให้ญี่ปุ่นสามารถปรับเปลี่ยนตัวเองและกลับมาเติบโตได้อย่างแข็งแกร่งทุกครั้งที่เขาล้มลง
อ่านเรื่องของญี่ปุ่นในหนังสือเล่มนี้แล้วก็อดทึ่งในความพยายามของเขาไม่ได้ครับ แล้วคนไทยล่ะจะสร้างนวัตกรรมแบบเขาบ้างได้ไหม คำถามนี้น่าคิดครับ
ท้ายนี้ตบท้ายรายการขายของนิดนึง ทาง True กำลังจัดโครงการ True Innovation Awards 2010 ครับ ถ้าใครมีโครงการอยู่ในใจบ้างแล้ว ลองเข้าไปอ่านรายละเอียดได้ที่เว็บไซต์ของ True Innovation Awards นะครับ ทาง True กำลังเปิดรับสมัครอยู่ จนถึงสิ้นเดือนกันยายนนี้ หรือติดตามข่าวสารได้ทาง Facebook ของโครงการครับ
เป็นหนังสือที่น่าอ่านมากเลยครับ
ชาวญี่ปุ่น นอกจากจะเป็นคนที่เคร่งครัดในระเบียบวินัยแล้ว ยังเป็นคนที่ตรงต่อเวลามาก ส่วนหนึ่งอาจเนื่องมาจากการเดินทางที่ต้องอาศัยรถไฟ เป็นหลัก ทั้งรถไฟใต้เดิน รถไฟฟ้า JR หรือรถไฟโดยสารระหว่างเมือง ซึ่งมาตรงเวลามาก เมื่อเห็นการวางระบบขนส่งมวลชนของประเทศญี่ปุ่นแล้ว ก็อยากให้ประเทศไทยมีการพัฒนาระบบขนส่งมวลชนแบบนี้บ้าง ที่นี่นอกจากคนจะเดินทางด้วยระบบขนส่งรวมแล้ว ยังใช้จักรยานในการเดินทางด้วย มีเลนพิเศษสำหรับจักรยาน ซึ่งนอกจากลดปัญหาการจราจร ที่คับคั่งแล้ว ยังช่วยลดมลพิษด้วย การทำแบบนี้ได้ต้องอาศัยการวางผังเมืองที่ดี และผู้บริหารเมือง ต้องมีจิตสาธารณะ มุ่งประโยชนส่วนร่วมเป็นหลัก มากกว่าการหาผลประโยชน์ให้ตัวเองและกลุ่มทุน
ผมก็อยากให้ประเทศไทยมีการพัฒนาระบบขนส่งมวลชนแบบนี้บ้างเหมือนกัน เพราะผมไม่ชอบขับรถ ถ้ามีน่ะชีวิตผมคงไม่ต้องซื้อรถใช้ แล้วมันก็ช่วยลดมลพิษลงด้วย
ส่วนหนังสือ น่าสนใจเดี่ยวจะลองหามาอ่านบ้างครับ
@macroart แนะนำให้หาซื้อมาอ่านครับ คิดว่าจะชอบกัน
@พงศ์ไท เรียนจบแล้วก็กลับมาพัฒนาบ้านเรานะเพื่อน