Bill Gates กับอีกก้าวสำคัญของ Microsoft

วันนี้ผมยังไม่ได้อัพเดทอะไรครับ แต่เปิดอีเมล์อ่านก็เจอบทความน่าสนใจจาก SEO Agency ‘Globlet’ เขาส่งข่าวที่แปลมาจากต่างประเทศแล้วน่าสนใจดีครับ ลองอ่านกันดูครับ

Bill Gates กับอีกก้าวสำคัญของ Microsoft

Google ในโลกของการแข่งขันของการโฆษณาออนไลน์ที่ ทางบริษัท Microsoft ได้จัดการประชุมหารือกับผู้สนับสนุนและลงโฆษณารายใหญ่กับ Microsoft ในการประชุมที่มีชื่อว่า MSN Strategic Account Summit โดยจุดสำคัญของการประชุมอยู่ที่แถลงการณ์อยู่ก้าวใหม่ครั้งสำคัญของทาง Microsoft ในการก้าวเข้ามาในโลกธุรกิจโฆษณาออนไลน์อย่างเต็มตัว

โดยนายบิล เกตส์ ประธานบริหารของบริษัท Microsoft กล่าวในที่ประชุมว่า “ความก้าวหน้าในธุรกิจออนไลน์ของ Google แสดงให้เห็นถึงศักยภาพที่มีแข็งแกร่งในการที่เป็นเว็บฐานข้อมูลในการค้นหา แต่ในส่วนของการโฆษณาออนไลน์นั้น ทาง Google อาจคิดว่าตัวเองทำได้ดีและอยู่เหนือคู่แข่งรายอื่นๆ ในส่วนนี้ทาง Microsoft คิดว่าเราถูกประเมินค่าต่ำเกินไป”

ขณะเดียวกันทาง Microsoft ได้เปิดให้บริการออนไลน์รูปแบบใหม่ต่างๆ มากขึ้น ในปี 2006 ซึ่งบริการเหล่านี้ได้เปิดโอกาสให้ผู้ลงโฆษณาประเภทต่างๆ ได้เลือกลงโฆษณาในธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับตนเอง ยกตัวอย่างเช่น Windows Live Mail Desktop โปรแกรมที่สามารถใช้งานได้จากฮาร์ดดิสเครื่องคอมพิวเตอร์โดยมีพื้นที่ให้ลงโฆษณา โดยทาง Microsoft แสดงความมุ่งมั่นเพื่อก้าวเป็นผู้นำในด้านธุรกิจโฆษณาออนไลน์ ด้วยบริการต่างๆ เช่น Windows Live Spaces, Windows Live Safety Center, Windows Live for Mobile, Office Live and Office Online และ Xbox.com

Web Content คืออะไร?

มาคุยกันต่อถึงเรื่อง Web Content ในเชิงกึ่ง ๆ วิชาการสักนิดนะครับ

สำหรับมุมมองของวิชา Web Content ใน Young Webmaster Camp นี้ ครั้งนี้ผมจะบอกกับทุกคนที่อยู่ใน Class ว่าเราจะมองภาพร่วมกันว่า Content คือภาพ, ภาพเคลื่อนไหว, เสียง, ตัวอักษร, บทความ, hyperlink ที่รวมกันจนเป็น ‘สาระสำคัญ’ ที่เว็บไซต์จำเป็นจะต้องมี (เฉพาะเว็บนะครับ ไม่รวมโทรศัพท์มือถือ แบบ Smart Phone และ PDA อย่าง Palm, Pocket PC) และจำเป็นอย่างยิ่งที่เราจะต้องสร้างให้ดีมากเพียงพอที่ผู้เยี่ยมชมเว็บไซต์จะเข้ามาแล้วรู้สึกโดนใจใช่เลย หรือไม่ก็นึกในใจว่า “นี่แหละ! หามานานแล้ว”

Web Content ที่ดีในแนวคิดของสมาคมผู้ดูแลเว็บไทยจึงไม่จำเป็นจะต้องเป็น Content ที่มีวรรณศิลป์สูงส่ง มีสำนวนเยี่ยมยอด หรือถูกต้องตรงตามหลักไวยากรณ์ภาษาอย่างใดอย่างหนึ่ง หากแต่เป็น Content ที่…
– มุ่งตอบสนองความต้องการของผู้เยี่ยมชมที่เป็นกลุ่มเป้าหมายของเว็บไซต์นั้น ๆ
– เป็นการสื่อสารแบบสองทางที่สามารถโต้ตอบกันได้ระหว่างเว็บไซต์กับผู้เยี่ยมชมได้รวดเร็วฉับไวตามสไตล์ของสื่ออินเทอร์เน็ต
– สามารถค้นหาและนำมาใช้ได้ง่าย
– อ่านง่าย เข้าใจง่าย

คนอ่าน Web Content เขาอ่านกันยังไง?
เว็บไซต์เป็นสื่อที่ค่อนข้างตามใจคนอ่าน คนเข้ามาอ่านเว็บไซต์มักจะไม่อ่านแบบตั้งใจอ่านมาก ๆ เหมือนอ่านหนังสือ แต่มักจะ ‘สแกน’ อ่านแบบผ่าน ๆ เพื่อจับใจความสำคัญ และค้นหาสิ่งที่ตัวเองต้องการ แต่อย่าเพิ่งคิดว่าคนที่เข้าเว็บไซต์มาไม่คิดที่จะอ่าน Content อย่างจริงจังนะครับ เพราะแต่ละคนเข้ามาด้วยจุดประสงค์ที่แตกต่างกัน เช่น บางคนเข้ามาทำวิจัย ต้องทำความเข้าใจเพื่อเอาไปถ่ายทอดต่อ เขาก็ต้องอ่านแบบละเอียดถี่ถ้วนแต่เราบอกได้ว่าส่วนใหญ่มักจะเข้ามา ‘สแกน’เท่านั้นเอง
เมื่อเรารู้แล้วว่าคนอ่านของเราชอบอ่านผ่าน ๆ แล้วมองหาหัวข้อที่ตัวเองสนใจที่สุด มากกว่าที่จะอ่านจริง ๆ ก็มาดูกันว่าเขาสแกนกันแบบไหน…

อ่านต่อคราวหน้านะครับ

ฝากถึงน้อง ๆ Young Webmaster Camp

ผมเป็นกรรมการสมาคมผู้ดูแลเว็บไทย (Thai Webmaster Association) มาได้เกือบสามปีแล้วครับ ที่สมาคมฯ เรามีโครงการอยู่โครงการหนึ่งชื่อ Young Webmaster Camp ที่พวกเราชาวเว็บมาสเตอร์วันนึงก็เกิดอยากจะถ่ายทอดวิชา(มาร) ของพวกเราไปสู่น้อง ๆ นักศึกษา ที่ผ่านมามี Inet เป็นสปอนเซอร์หลัก และเคยมี One-2-Call! สปอนเซอร์พวกเราครั้งแรกที่พวกเราบ้าคิดจะทำโครงการนี้ขอบคุณมา ณ ที่นี้ด้วยนะครับ ปัจจุบันนี้เรากำลังจะทำโครงการนี้เป็นครั้งที่ 4 แล้วล่ะครับ

Young Webmaster Camp เราจะออกต่างจังหวัดไปทำ Workshop กันโดยแบ่งน้อง ๆ ออกเป็น 4 กลุ่ม คือ Web Design, Web Programming, Web Marketing และ Web Content …ผมในฐานะประชาสัมพันธ์ของสมาคมฯ เวลามีเรื่องอะไรขีด ๆ เขียน ๆ เขาก็ชอบโยนกันมาให้ผม(อย่างที่ผมยินดีรับนะ)ทำ โดยเฉพาะเรื่องการเปิด Class สอนน้อง ๆ เกี่ยวกับ Web Content

เมื่อพูดถึง Web Content มีหลายคนมากระซิบใน Young Webmaster Camp รุ่นเก่า ๆ ให้ผมฟังว่า Web Content น่ะเหรอก็แค่เขียนบทความต่าง ๆ ขึ้นเว็บไซต์ไม่เห็นจะยากเย็นอะไร ขอแค่รู้ว่าจะเขียนอะไรแค่นั้นก็พอ ไม่จำเป็นจะต้องมีองค์ความรู้อะไรมากำกับก็ได้ ไม่เหมือนกับ เรื่อง Web Design, Web Programming และ Web Marketing ที่เพื่อน ๆ ในกลุ่มอื่นเรียนกัน น่าเรียนกว่า Web Content เป็นไหน ๆ

ผมตอบไปว่า ไอ้ครั้นจะบอกอย่างนั้นก็ไม่ถูกเสียทีเดียว ไว้ถ้าผมมีโอกาสอธิบายจะเล่าให้ฟัง จนแล้วจนเล่าหาโอกาสไม่ได้เลยต้องมาเขียนเป็นบทความที่คุณกำลังอ่านอยู่

ผมเชื่อนะครับว่า คนที่อ่านบทความนี้อยู่ อย่างน้อยก็ต้องมียีนส์ หรือมี DNA อะไรบางอย่างของคนที่ชอบ Content อย่างน้อยที่สุดก็จะมีความเชื่อเล็ก ๆ แล้วว่า Web Content เป็นบางสิ่งบางอย่างที่พิเศษและแตกต่างไปจากองค์ความรู้อื่น ๆ ว่าแต่แตกต่างอย่างไรล่ะ?

ถ้าเราศึกษาพฤติกรรมการใช้เว็บไซต์ของคนทั่วไป หรือแม้กระทั่งสำรวจจากมุมมองของตัวเราเองก็ตาม เราจะเห็นว่าผู้เยี่ยมชมเว็บไซต์ไม่ได้เข้าไปเพียงเพื่อดูว่าเว็บไซต์นั้นสีสันสวยสดถูกใจ มีลูกเล่นสคริปต์เจ๋ง ๆ หรือมีกลยุทธ์การตลาดน่าตื่นตาตื่นใจเพียงอย่างใดอย่างหนึ่ง หากแต่เราเข้าไปเสพ ‘สาระสำคัญ’ ที่เป็นภาพรวมอันประกอบไปด้วย Design, Programming Marketing และแน่นอน… Content

จะขาดอะไรไปสักอย่างไม่ได้หรอกครับ จะว่าไปก็เหมือนคนหนึ่งคนนั่นล่ะ จะเป็นคนขึ้นมาได้ก็ต้องประกอบด้วย ธาตุดิน น้ำ ลม ไฟ สี่ธาตุใช่ไหม
น่าน ว่าเข้าไปนั่น เดี๋ยวคราวหน้าเรากลับมาเข้าหลักวิชาการกันสักหน่อยดีกว่า

เมื่อต้นไม้ชื่อ Microsoft ใกล้ผลัดใบ?


หายไปเกือบอาทิตย์เช่นเคย สัปดาห์นี้เลยรีบกลับมาอัพเดทเรื่องที่ค้างกันเอาไว้ตั้งแต่คราวที่แล้ว นั่นก็คือเรื่องของการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างภายใน Microsoft แต่บอกกับคุณ ๆ ไว้ก่อนนะครับว่าที่ผมเอามาอัพเดทกันนี่เป็นเรื่องที่ผมอ่านจากนิตยสาร Fortune มาล้วน ๆ ไม่ได้ไปศึกษาเพิ่มเติมในแหล่งข่าววงในวงลึกของหลาน ๆ Uncle Bill มาเลย

พูดง่าย ๆ ก็คือมันเป็นสิ่งที่ Microsoft เขาอยากโปรโมทนั่นล่ะครับ ใครรู้แล้วก็ดี แต่ถ้าใครยังไม่รู้ Content Machine มีรายงาน…

จากบทความเรื่อง Inside Microsoft’s New brain: The man who would be Bill ในนิตยสารเขาเขียนถึงผู้ชายที่ชื่อว่า Ray Ozzie CTO คนใหม่ของ Microsoft ที่มีหน้าที่เข้ามา ‘webify’ Microsoft โดยเนื้อความโดยรวมแล้วก็มีบทสัมภาษณ์สั้น ๆ และ quote ของ Bill Gates, Steve Ballmer มาชื่นชมว่า CTO คนนี้เจ๋งยังไง ทั้งเป็นคนที่สร้าง Lotus Notes ทั้งเป็นคนที่ Microsoft อยากชวนมาร่วมงานด้วยนานแล้วแต่ไม่ได้จังหวะซักที

สิ่งที่สำคัญในบทความนี้ก็คือ บทบาทของ Bill Gates ที่เปลี่ยนไปใน Microsoft โดยสังเกตได้จากการที่ Bill Gates เริ่มกระอักกระอ่วนในการที่จะตอบผู้สื่อข่าวในประเด็นที่ว่า Microsoft ไม่มี CTO มาตั้งนานแล้ว จู่ ๆ มี Ray Ozzie เข้ามา บทบาทของ Bill จะตกลงไปบ้างไหม คำถามนี้ Bill Gates ไม่ได้ตอบอะไรมากมาย ได้แต่เงียบ ๆ ไป

บทความนี้อ่านแล้วก็น่าสนใจดีนะครับ ในแง่ที่ว่ามันมีการเปลี่ยนแปลงภายใน โดยเฉพาะการแข่งขันกับคู่แข่งอันดับ 1 อย่าง Google Inc. ที่ประกาศความร่วมมือกับ Sun ในแง่การสร้าง Open Office ซึ่งแน่นอนว่ามันจะต้องกระทบกับโครงสร้างธุรกิจของ Microsoft ที่เก็บค่า License ของ Windows มานานหลายปี ในบทความนี้เขาเลยรายงานว่า Ray ได้รับมอบหมายจาก Bill และ Steve ให้ ‘Webify’ ทุกสิ่งทุกอย่าง สินค้าทุกไลน์ใน Microsoft ทั้งซอฟต์แวร์สำหรับผู้บริโภคทั่วไป ซอฟต์แวร์สำหรับธุรกิจ เลยไปถึง XBox โดยเดิมพันกันที่อินเทอร์เน็ต

Microsoft กำลังเดิมพันกับอินเทอร์เน็ตครั้งใหญ่ โดยจะเห็นได้ว่า Steve Ballmer เมื่อไม่ได้เดินทางไปโปรโมท Windows ตัวใหม่ “Vista” และ Microsoft Office ตัวใหม่ เขากลับทำหน้าที่เป็น “ad-salesman-in-chief” คือเดินสายขายของไปทั่วในแง่ของการโฆษณา อย่างเช่นการเดินสายใน L.A. เพื่อที่จะนัดพบกับบรรดานักการตลาดจากบริษัทยักษ์ใหญ่อย่าง เนสเล่ โตโยต้า โดยเน้นไปในเรื่อง Online advertising และในรายงานยังได้ระบุอีกว่า “Microsoft is becoming a media company.”

Quote อีกตัวนึงที่น่าสนใจในบทความนี้ที่ยืนยันสิ่งที่ผมแปลมาฝากวันนี้ก็มีดังนี้ครับ
“Everything we do should have a presence on the Web,” Ray Ozzie

งานนี้น่าติดตามดีครับ

Web 2.0 มันอะไรกันแน่เนี่ย???

ท่ามกลางความมืดมิดของฟากฟ้าเหนือหมู่เกาะโอกินาวาของคืนวันเสาร์ที่ผ่านมา ชายร่างท้วมคนเดิม (ใช้คำนี้ทำไมฟะ ก็ผมเองนี่แหละ) นั่งคิดประติดประต่อเรื่องราวต่าง ๆ ที่ได้มาจากการไปดูงานที่ประเทศญี่ปุ่นคราวนี้ พลางเปิดอ่านนิตยสาร Fortune ที่คว้ามาจากแผงหนังสือ กวาดสายตาไปบนหน้าปกก็เจอเรื่องน่าอ่านอยู่ 2 เรื่อง เป็นเรื่องอินเทอร์เน็ตทั้งคู่เลยครับ
1 Inside Microsoft’s New brain: The man who would be Bill –> เรื่องนี้เจ๋งมากครับเดี๋ยวคราวหน้ามาคุยกันเรื่องนี้
2 How to invest in the new net boom (carefully) –> วันนี้จะคุยเรื่องนี้

เรื่องแรกเป็นเรื่องพาดหัว ส่วนเรื่องที่สอง (ที่ไม่ค่อยจะน่าสนใจเหมือนชื่อเรื่องเท่าไหร่) ผมอ่านอย่างละเอียดถี่ถ้วนแล้วแต่ก็ไม่เห็นมีอะไรใหม่นอกจากนักข่าวคนหนึ่งของฟอร์จูนพยายามจะใช้คำว่า “Web 2.0” รวมทั้งผลประกอบการของบริษัทดัง ๆ อย่าง Google Inc., Adobe และอื่น ๆ มาอ้าง คือจะบอกว่าวงการอินเทอร์เน็ตมันดีแล้ว มันดีขึ้นกี่เท่าตัว กี่เปอร์เซ็นต์ ดังนั้นนักลงทุนที่อ่านบทความนี้ควรจะลงทุนบนบริษัทเหล่านี้อย่างไร

นักข่าวเจ้าของบทความนี้ชื่อ Adam Lashinsky นี่ทำการบ้านมาดีครับ คือมีตัวเลข มีสถิติอะไรที่น่าสนใจ รวมทั้งเข้าใจจับประเด็นการกลับมาของอุตสาหกรรมอินเทอร์เน็ต ที่มันซบเซาไปนาน แต่ส่วนตัวผมมองว่าพออ่านเข้าไปลึก ๆ คิดตามไปแล้ว มันก็งั้น ๆ ล่ะครับ เพราะผมก็เห็นนิตยสารธุรกิจอเมริกันไม่รู้กี่เล่มต่อกี่เล่ม ก็อ้างถึงการกลับมาของอินเทอร์เน็ตกันเยอะแยะไปหมด อย่าง NewsWeek, Economists ก็ใช้คำว่า “Dot Com Turn Around” แล้วแต่จะอรรถาธิบายกันไปว่าอินเทอร์เน็ตดียังไง

เอาเหอะ เขียนกันไปครับ เพราะจะดีร้ายยังไง อินเทอร์เน็ตก็เป็นสิ่งที่เป็นอาชีพของเรา ๆ ท่าน ๆ ใครจะเขียนอะไรเราก็ต้องเคารพความคิดของเขา แต่ในความเป็นจริง ผมว่าอินเทอร์เน็ตมันเหมือนเดิมครับ คือมันมีข้อดีข้อเสียอะไรเราก็เห็นกันแล้ว อะไรที่เราเคยทำสมัย ‘Net Boom Era’ เราก็เก็บมันเป็นบทเรียนไว้ อย่าไปซ้ำรอย อะไรใหม่ ๆ ที่ดีก็ต้องช่วยกันส่งเสริมบอกกับคนทั่วไป

วันนี้ที่จริงไม่มีอะไรมากครับ ขอเลียนแบบสำนวนของคุณปกรณ์ พงศ์วราภาสักหน่อยว่า …. ที่เขียนมาทั้งหมดวันนี้ ผมเพียงแต่จะบอกว่า Web 2.0 เป็น Concept ที่ดี แต่ธุรกิจจะดีขึ้นหรือเปล่ามันไม่ได้เกิดมาจาก Concept พวกนี้สักหน่อย ตอบกันอย่างง่าย ๆ แกมรำคาญนิด ๆ ก็คือ ความเจริญก้าวหน้าที่ Adam เขาอ้างในข่าว มันอยู่ที่พื้นฐานของธุรกิจและจังหวะในการปล่อย IPO ใน NASDAQ และการทำ M&A ของธุรกิจนั้น ๆ มากกว่า อย่างเช่น Macromedia ควบรวมกับ Adobe มันดีขึ้นได้ก็เพราะพื้นฐานของทั้งสองบริษัทมันเอื้อประโยชน์ซึ่งกันและกันในแง่ของธุรกิจ Content Publishing อยู่แล้ว ส่วน Google Inc. เขาก็ดีได้ด้วยความฉลาดของอัลกอริธึ่มของ Search Engine และโปรแกรมโฆษณา Adwords, Adsense ของเขา Cisco เขาก็อยู่ตัวอยู่แล้ว

อะไรจะสำคัญเท่ากับการระลึกรู้และเข้าใจความเป็นจริงและธรรมชาติของอินเทอร์เน็ตในแง่ของ Interactive Multimedia และการมองตลาดของ Internet user ในมุมมองของผู้บริโภค มันอาจไม่ได้เกี่ยวอะไรกับตัวเลข 1.0 2.0 เท่าไหร่เลย เป็นแค่ Concept ที่เหมาะจะใช้ในการต่อยอดทางความคิดเชิงวิชาการมากกว่า แต่ที่แน่ ๆ ผมว่ามันกลายเป็นคำเรียกเท่ ๆ ของนักข่าวไว้เขียนกัน ในขณะเดียวกันพวกเราก็ชอบที่จะเป็นข่าวด้วย

เอ้า 2.0 ก็ 2.0 ใครคิดว่ามันจะมีอะไรใหม่ขึ้นมาจริง ๆ ช่วยกันออกความเห็นหน่อยครับ

Microsoft เล็งซื้อหุ้น Yahoo! ?

วันนี้ผมอ่านข่าวจาก Wall Street Journal บทความที่ชื่อว่า A Microsoft, Yahoo Tie-Up?

ในบทความก็ว่าด้วยความเป็นไปได้ที่ Microsoft สนใจจะเข้าไปถือหุ้นใน Yahoo! (ที่จริงผมว่าก็แปลกอะไรหรอกครับ uncle Bill ก็เคยอยากจะซื้อ Google ล่าสุด Microsoft ก็ Join กับ A9.com) อ่านแล้วก็น่าสนใจดีครับ ไม่มีเวลาแปล โทษทีนะครับ ถือว่าเอามาส่งผ่านให้อ่านละกันครับ

Some in Microsoft Want a Pact To Bolster Web-Search AdsAnd Better Challenge Google
By ROBERT A. GUTH and KEVIN J. DELANEYMay 3, 2006; Page C1

One faction within Microsoft Corp. is promoting a bold strategy in the company’s battle with Google Inc: Join forces with Yahoo Inc.

That would be a major departure for Microsoft, the software maker that is legendary for toiling on its own until it captures a new market. However, people familiar with the situation say that Microsoft has considered the idea of acquiring a stake in Yahoo, and that the two companies have discussed possible options over the course of the past year.

Currently, talks of an equity stake in Yahoo don’t appear to be active, given that Microsoft is focusing on a reorganization that it hopes will re-energize its effort to compete with Google, the fast-growing provider of search services and advertising.

Two wild cards remain: Microsoft Chief Executive Steve Ballmer, who has historically shunned large acquisitions, and Yahoo co-founder Jerry Yang, whose support would be key to bringing the necessary Yahoo shareholders on board for a deal. Mr. Yang and others in Yahoo would be hard-pressed to sell to Microsoft, people close to the company say.

However, people familiar with Microsoft say its top management remains open to a deal with Yahoo as pressure grows to perform better against Google.

The increasing pressure on Microsoft — not just from Google, but also from its own shareholders, as well as from advertisers that want an alternative to Google — could help to justify the acquisition or some kind of business collaboration, these people say.

Since 2004, Microsoft has invested heavily to better compete with Google but it has yet to boost its share of search or online advertising. At the same time, Google has released products that some industry experts say could over time eat into Microsoft’s core software businesses.
Microsoft executives say that they are investing for the long haul, and that the online-search market is still nascent and has much room for growth. A Microsoft spokesman declined to comment. A Yahoo spokeswoman declined to comment, saying the company doesn’t discuss “rumors and speculation.”

In one sign that Microsoft may be serious about major acquisitions, it has hired search-industry executive Steve Berkowitz to head MSN, the Internet unit that is building the Web-search business and is leading Microsoft’s charge against Google, including Web search. Mr. Berkowitz, the former chief executive of search site Ask.com, is viewed as a likely deal maker at MSN, having completed more than 40 acquisitions in his career, according to a person close to the matter. He starts May 8. Mr. Berkowitz couldn’t be reached for comment.

Microsoft’s recent quarterly results provided a picture of the pressure it faces from Google. On Thursday, Microsoft said the MSN unit fell into the red and its revenue declined. Those numbers show it is failing to capture the same online-advertising tail wind that is helping Google. By contrast, Google’s first-quarter net income rose 60% from a year earlier to $592 million. U.S. online advertising generally rose 30% to $12.5 billion last year, according to the Interactive Advertising Bureau trade group and consulting firm PricewaterhouseCoopers.

Microsoft executives also said they will need to boost investments in online businesses in the next fiscal year to levels far higher than Wall Street had expected. That prompted an 11% selloff of Microsoft shares Friday. The stock has ticked lower this week. In 4 p.m. Nasdaq Stock Market composite trading, shares fell 1.2% to $24.01, after hitting a 52-week low during the day of $23.90.

At its core, the clash between Microsoft and Google centers on Microsoft’s attempt to build up its Web-search and online-advertising businesses, and Google’s push to broaden its own offerings onto Microsoft’s traditional turf. Google’s encroachment includes software that lets consumers search the content of their personal computers, and email and calendar services that overlap with Microsoft software offerings. Microsoft has pumped hundreds of millions of dollars into its search-engine technology and an online-ad system called AdCenter, which it plans to officially unveil this week. But so far its approach hasn’t yielded the sought-after results.
In search, “Microsoft appears to be falling farther behind Yahoo and Google,” says Henry Ellenbogen, portfolio manager of the T. Rowe Price Media & Telecommunications fund, whose holdings included Yahoo and Google shares as of March 31. Mr. Ellenbogen considers a Microsoft bid for Yahoo a possibility.

Some investors are growing increasingly impatient with Microsoft’s spending to compete with Google head-on. “Chasing Google in search is a waste of money,” says Walter Price, managing director at RCM Capital Management LLC. Investors such as Mr. Price point to the results so far: Microsoft’s share of the Web-search market dropped to just 10.9% of all U.S. search queries in March 2006 from 14.2% in February 2005, while Google and Yahoo each gained share, according to research firm NetRatings Inc., and in March were at 49% and 22.5%, respectively.
A Microsoft-Yahoo combination could merge complementary strengths.

To succeed in Internet-search advertising — the business driving Google’s growth — a competitor needs three core elements: strong technology, a mass of consumers and a universe of different advertisers. Microsoft is spending untold hundreds of millions of dollars on the technology piece, but it doesn’t yet have enough consumers using its MSN service to entice the needed advertisers.

A tie-up with Yahoo could address part of that problem. It has more than 100 million people visiting its site a month, making it the most popular Web site in the U.S. So far it is losing the race to Google when it comes to the technology for matching ads to consumer search queries, though it plans to unveil an upgrade to its system this month.

Combined, MSN and Yahoo would have all three pieces and, at least on paper, could leapfrog Google. Combined, the companies would have the “technology and the scale,” to compete, says Ellen Siminoff, a former Yahoo senior vice president and now chief executive of search marketing company Efficient Frontier Inc.

RCM’s Mr. Price says Microsoft should focus on building its online-ad business around media properties, such as sports highlights that display ads, the type of content services that Yahoo has spent years developing. “To the extent that they can preserve the Yahoo culture and let Yahoo focus on being the next-generation media company — that would be really good for Microsoft,” Mr. Price says.

Short of a wholesale acquisition, Microsoft could sell MSN to Yahoo, taking a minority stake in the Internet portal, say people familiar with the company.

Behind the scenes at Microsoft there are two factions of thinking about a Yahoo deal, say people familiar with Microsoft. One, largely led by MSN veterans, has been focused on Microsoft building its own answer to Google. So far that group has prevailed.

Pushing for more is Hank Vigil, a Microsoft senior vice president who internally is advocating for Microsoft to do a major deal such as a tie-up with Yahoo, say people familiar with Microsoft. Mr. Vigil has a long history of forging (and at times fixing) relations with other companies in the industries in which Microsoft plays. Last year Mr. Vigil led Microsoft in talks to form a joint venture with Time Warner Inc. that would have combined MSN and the media giant’s AOL unit. The plan was scuttled after Google swooped in with $1 billion and took a 5% stake in AOL. Mr. Vigil couldn’t be reached for comment.

Write to Robert A. Guth at rob.guth@wsj.com and Kevin J. Delaney at kevin.delaney@wsj.com

ใครแข็งภาษาอังกฤษช่วยเขียนไปหา Kevin เขาหน่อยนะครับ ว่าเขานำเสนอข่าวดีนะ ชอบมาก ๆ เลย!

Google ยอมรับว่าแพ้ในเกาหลีใต้ (แต่ด้วยสาเหตุอะไรนะ?)

ผมเชื่อว่าหลายคนที่สนใจแวะเข้ามาอ่าน Blog ของผมคงสนใจเรื่องที่ผมจะเสนอครับ นั่นคือการแปลข่าวของเว็บไซต์ข่าวในบ้านเรากับเนื้อความในต้นฉบับบางครั้งมันออกมาไม่ตรงกัน แม้ว่าใจความจะคล้ายกัน แต่ก็มีความคลาดเคลื่อนไปประมาณ 2-3 ประเด็นสำคัญ ที่เอามาบอกกันใน Blog นี่ไม่ใช่ว่าผมต้องการประณามบทความแปลของนักข่าวบ้านเราหรอกนะครับ แต่สิ่งที่ผมต้องการจะบอกก็คือเรื่องอย่างนี้ต้องรอบคอบหน่อย

ถ้าใครมีเวลา ผมอยากให้อ่านทั้ง 2 ลิงก์ด้านล่างนี้นะครับ แต่ถ้าไม่มีเวลาก็อ่านเฉพาะลิงก์แรก แล้วข้ามไปที่ผมแปลแก้ไขเพิ่มเติมด้านล่างได้เลยครับ

บทความแปลของนักข่าวบ้านเรา
http://www.manager.co.th/CyberBiz/ViewNews.aspx?NewsID=9490000057151

บทความที่เชื่อว่าเป็นต้นฉบับ
http://www.usatoday.com/tech/news/2006-04-30-google-south-korea_x.htm

ประเด็นที่ผู้แปลต้องการสื่อก็คือจะบอกว่ายอดผู้ใช้ Google ในเกาหลีใต้นั้นสู้เว็บไซต์ท้องถิ่นอย่าง Naver.com ไม่ได้ ซึ่งตรงนี้อ่าน ๆ ไปก็ไม่มีอะไร แต่พอได้อ่านต้นฉบับผมก็พบว่า ผู้แปลตกประเด็นสำคัญไปดังนี้ครับ

– ทำไมถึงแพ้?
ผมอ่านข่าวต้นฉบับแล้วจับใจความได้ดังนี้ครับ ที่ Google.co.kr แพ้ Naver.com เพราะว่า Google เชื่อมั่นใน Search Technology ของตัวเองในขณะที่ Naver.com มีฐานความรู้ (ที่ชื่อว่า Knowledge iN) ที่สร้างโดยมนุษย์ ที่เกิดจากการถาม-ตอบ เหมือนการถาม-ตอบใน Webboard บ้านเรา ซึ่งตอนนี้มีคำถามคำตอบรวมกันมากกว่า 41.1 ล้านครั้ง ผลการค้นหาใน Naver.com จึงไปดึงเอาฐานข้อมูลจาก Knowledge iN นี้ รวมทั้งข่าวและ Blog
(To remedy the situation, Naver — which is more like a Yahoo-esque portal than a mere search engine — came up with what it calls Knowledge iN, where users post questions that are answered by other users — creating a database that now totals more than 41.1 million entries. A search on the site brings up typical Web results along with the Knowledge iN database and news and blog sites.)

– คำสัมภาษณ์ของนักวิเคราะห์ที่น่าฟังในข่าวที่ถูกตัดออกไป
Google พึ่งพาและเชื่อ Technology ของพวกเขามากไป โดยปล่อยให้ engine ทำงานและจัดลำดับความสำคัญของลิงก์ต่าง ๆ จากจำนวนการเยี่ยมชมในลิงก์นั้น มีการใช้ระบบ ranking (PageRank) เปรียบเทียบกับ Naver.com ที่เป็นฐานข้อมูลที่เกิดจากมนุษย์สร้างขึ้น ซึ่งเป็นสิ่งที่ Google ไม่มี แดนนี่ ซัลลิแวนด์ บรรณาธิการ newsletter Search Engine Watch กล่าว
(Google relies on its computers to troll the Web and see which sites are linked most often by other sites, creating a ranking system based on how often a page is referenced. Compared to Naver’s people-created database, Google doesn’t “have a system to combat that,” said Danny Sullivan, editor of industry newsletter Search Engine Watch.)

– อันดับความนิยมของผู้ใช้ Search Engine ในเกาหลีใต้
อันนี้ชัดเจนครับ ในข่าวไทยน่าจะบอกว่าใครคืออันดับหนึ่ง อันดับสอง และอันดับสาม แต่ก็ไม่มีThe search-engine field here is ruled by local NHN’s Naver website, whose links accounted for nearly 58.4% of search referrals, according to WebSideStory. KoreanClick’s tally of Naver’s share was even higher — nearly 80%. Daum Communications was second with more than 48%, and U.S.-based Yahoo’s Korean-language site No. 3 at 32%

การตลาดออนไลน์สไตล์ Amazon.com (ฉบับย่อ)

First publish on www.manager.co.th 22 February 2005
Revise on 5 May 2006

Hello, Jakrapong. We have recommendations for you. (If you’re not Jakrapong, click here.)

ใครที่ชอบแวะไปซื้อข้าวซื้อของในเว็บไซต์ Amazon.com คงจะคุ้นเคยกับประโยคทักทายผู้เยี่ยมชมเว็บไซต์ข้างบนดีนะครับ เมื่อหลายตอนที่ผ่านมาผมเคยเขียนถึงเจฟฟ์ เบโซส์ ผู้ก่อตั้งเว็บไซต์ Amazon.com ไปแล้วหนหนึ่ง เกี่ยวกับประสบการณ์และความสำเร็จที่เกิดมาจากบุคลิกภาพเชิงบวกของเขา

วันนี้เรามาติดตามกันต่อว่า จากวันนั้นถึงวันนี้เขาเดินหน้าไปถึงไหนแล้วเมื่อเจฟฟ์เปิดตัวเว็บไซต์ Amazon.com เมื่อสิบปีที่แล้ว Amazon.com ซึ่งเป็น Virtual Bookstore สามารถเสนอขายหนังสือในเว็บไซต์ได้มากมายมหาศาล ซึ่งมากเกินกว่าที่ร้านหนังสือจริงจะทำได้ ในช่วงนั้นชื่อเสียงและราคาหุ้นของ Amazon.com จึงพุ่งแรงอย่างฉุดไม่อยู่ แต่แล้วเมื่อธุรกิจดอทคอมพังพาบลงอย่างสิ้นท่า สิ่งที่เหลืออยู่ก็คือ เขาในฐานะหัวเรือใหญ่ของธุรกิจดอทคอมจะต้องดำเนินธุรกิจต่อไปให้อยู่รอดให้ได้

วันเวลาผ่านไป… ธุรกิจของเขาสามารถขายสินค้าไม้จิ้มฟันยันเรือรบได้มากกว่า 20 ล้านรายการ และทำรายได้มากถึง 6 ล้านล้านดอลล่าร์สหรัฐฯ แม้จะยังไม่มีรายงานมาว่าเขาได้กำไรหรือยัง แต่คำพูดของเบโซส์ยังคงเป็นสิ่งที่น่าสนใจอยู่เสมอ

ผมสรุปจากบทสัมภาษณ์ของเขาจากสื่อหลาย ๆ แห่ง และบวกเข้าไปกับแนวทางการซื้อขายออนไลน์มาเป็นข้อ ๆ เผื่อว่าจะมีประโยชน์กับคุณผู้อ่านนะครับ

1. เรารู้ว่าอะไรที่อินเทอร์เน็ตทำได้ อะไรที่คู่แข่งทำไม่ได้

Amazon.com ยังคงใช้ความได้เปรียบในธรรมชาติของสื่อออนไลน์ในการเสนอขายสินค้าจำนวนมหาศาล (โดยเฉพาะอย่างยิ่งหนังสือ) และหาทางสร้างโอกาสในการแข่งขันกับร้านหนังสือทั่วไป ด้วยการเปิดโอกาสให้ผู้เยี่ยมชมเว็บไซต์ได้ใช้ feature “Search Inside” เหมือนกับการพลิกดูหนังสือได้ในร้านจริง (ซึ่งเจฟฟ์อ้างว่าทำให้ยอดขายเพิ่มขึ้นถึง 9 เปอร์เซ็นต์ของหนังสือทั้งหมด)

ทั้งยังพยายามดึงระบบบริหารลูกค้าสัมพันธ์ (CRM) มาใช้ โดยให้ระบบจดจำลูกค้าเป็นรายบุคคล ว่าลูกค้ามีพฤติกรรมเลือกซื้อหนังสือแบบไหน แล้วจ้างทีมงานจัดทำบทแนะนำหนังสือขึ้นมา พร้อมกับเสนอหนังสือราคาพิเศษในหมวดเดียวกันเข้าไปเจฟฟ์เผยว่าเขาพยายามกระตุ้นเร้าความต้องการส่วนลึกของลูกค้า

เช่น เขาทำวิจัยพบว่าลูกค้าที่ค้นหาหนังสือเกี่ยวกับลัทธิเซ็น จะเป็นกลุ่มที่ชอบความเรียบง่าย และชอบที่จะจัดระเบียบชีวิต และคนกลุ่มนี้จึงต้องการที่จะรู้ว่าทำอย่างไรให้การใช้ชีวิตในที่ทำงานเป็นสิ่งเรียบง่าย ซึ่งไปตรงกับหนังสือที่เขียนเกี่ยวกับการจัดโต๊ะที่ทำงานให้เป็นระเบียบเรียบร้อย เจฟฟ์ได้หยอดเอาคำว่า “จัดโต๊ะทำงานให้เรียบร้อย” เข้าไปในคำค้นหาหนังสือ ปรากฏว่ามีลูกค้าคลิกเข้าไปอ่านและตัดสินใจซื้อจำนวนมาก

นอกจากนี้เขายังให้เหตุผลทางการตลาดเพิ่มเติมอีกด้วยว่า ในโลกออฟไลน์เราจะต้องเสียค่าทำการตลาดมหาศาลสำหรับสินค้าที่ “เชื่อว่าจะขายได้” และ “คุ้มที่จะขาย” เราคงไม่ทุ่มงบการตลาดลงไปกับสินค้าที่ทำออกมาแล้วมีคนซื้อกลุ่มเล็ก ๆ หรือสินค้าที่มีตลาดเฉพาะ เพราะอาจเป็นการลงทุนที่ไม่คุ้มค่า แต่ใน Amazon.com เจฟฟ์เผยว่า เขาสามารถขายสินค้าเหล่านี้ได้

1. หนังสือหายาก
2. หนังสือที่ไม่มีชื่อเสียงมากนัก
3. หนังสือที่ไม่ได้เป็นหนังสือติดอันดับขายดี
4. หนังสือที่มีชื่อเสียงในกลุ่มเฉพาะ

การขายหนังสือเหล่านี้ด้วยต้นทุนทางการตลาดที่ต่ำ ทั้งยังเป็นสิ่งที่บรรณาธิการหนังสือ และเจ้าของร้านหนังสือทั่วไปไม่สามารถทำได้ดี (เว้นเสียแต่จะอ่านหนังสือของตัวเองอย่างละเอียดทุกเล่ม) แต่อินเทอร์เน็ตสามารถทำได้ และที่แน่ ๆ มันเวิร์ค ซึ่งจะว่าไปแล้ว ลองยกตัวอย่างเล่น ๆ ว่าถ้าหากค่ายเพลงในบ้านเราอย่างแกรมมี่ อาร์เอสจะลองทำเว็บไซต์ขายสินค้าแบบ Back Catalog ดูบ้าง เพราะตัวเองก็มีสินค้าเก่าหายากอยู่มากมาย ก็ไม่น่าจะยากจนเกินไป

2. พลังของ Community ยังคงสำคัญ และต้องทำต่อไป

เจฟฟ์เคยให้สัมภาษณ์ว่าเขาให้ความสำคัญกับพลังชุมชนของลูกค้า โดยการเปิดเวทีให้ลูกค้าได้แสดงความคิดเห็นในตัวสินค้ามาโดยตลอด อย่างที่เคยทำกับฟีเจอร์ “List Mania” ที่จะมีลูกค้าซึ่งระบุว่าตัวเองมีทักษะพิเศษในด้านนั้น ๆ มาวิพากษ์วิจารณ์ว่าหนังสือเล่มนี้ดี และไม่ดีอย่างไร ทำไมถึงชอบ ทั้งยังเปิดให้ลูกค้าโหวตด้วยว่าความคิดเห็นของคนที่มาวิพากษ์วิจารณ์สินค้านั้นเป็นการเชียร์สินค้าออกอาการ “โอเวอร์” เกินไปหรือเปล่า

ทั้งยังจับกลุ่มผู้นิยมสินค้ามือสอง ในลักษณะ C2C อันเป็นลักษณะพิเศษของสินค้าออนไลน์ และตอกย้ำความสำเร็จของ feature ดั้งเดิมอย่าง “Wish List” ที่ทำหน้าที่เป็นตัวคอยเตือนให้ลูกค้าจำได้ว่าเคยอยากได้หนังสือเล่มนี้ โดยเพิ่มคุณลักษณะของ Wish List เพิ่มไปอีกว่าจะแชร์ให้คนอื่นที่เป็นเพื่อน หรือญาติพี่น้องของคุณทราบหรือไม่ว่าคุณมี Wish List แบบนี้ แน่นอนว่าบรรดาญาติ ๆ คุณคงไม่ใจจืดใจดำลืมไปว่าคุณอยากได้อะไรในช่วงเทศกาล

นี่แหละเป็นวิธีเพิ่มยอดขายในแต่ละช่วงเทศกาลได้เป็นอย่างดี

จะว่าไปแล้วเจฟฟ์ไม่ได้ทำเพียงสร้าง Community ขึ้นมา แต่เจฟฟ์กำลังเล่นอยู่กับพลังของเครือญาติ อันเป็น Community ที่เป็นสถาบันของสังคม และยังสร้างภาพลักษณ์ที่ดีของบริษัทในการสร้างเสริมความสัมพันธ์ของสถาบันครอบครัวอีกด้วย

3. คนมักจะสับสนและลังเลว่าสินค้าที่ไม่ดังจะมีคุณภาพต่ำ

เจฟฟ์ให้สัมภาษณ์ในนิตยสาร WIRED ฉบับเดือนมกราคม ปี 2548 ว่า “People confuse obscurity with bad service” ซึ่งจับใจความในประโยคทั้งหมดได้ว่า คนทั่วไปมักจะสับสนและลังเลว่าสินค้าที่ไม่ดังจะมีคุณภาพต่ำ และอาจกระทบการตัดสินใจซื้อสินค้า ซึ่งตรงนี้ยังรวมไปถึงสินค้าที่ obscure หรือดูคลุมเครือ

เช่น ตั้งชื่อหนังสือไม่ชัดเจน ก็จะทำให้หนังสือดูมีมูลค่าลดลงไป ในโลกอินเทอร์เน็ต เจฟฟ์เผยว่าเขามี feature อยู่หลายตัวที่ทำให้ผู้บริโภคเชื่อมั่นในตัวสินค้ามากยิ่งขึ้น คล้ายกับที่หลายคนเคยใช้บริการในเว็บไซต์วิพากษ์วิจารณ์สินค้าอย่าง Epinions.com อาจจะดูเป็นเรื่องปกติทั่วไปที่สินค้าที่ไม่ดัง และดูจะมีความคลุมเครือ หรือไม่แน่ใจว่าจะใช้ประโยชน์ได้คุ้มค่าหรือเปล่า ที่ผู้ซื้อจะไม่แน่ใจ จะต้องมีการอธิบายคุณประโยชน์ของสินค้า หรือเลยไปถึงการโฆษณาชวนเชื่อ ซึ่งตรงจุดนี้เราจะเห็นได้ว่าการขายสินค้าใด ๆ ในโลกแห่งความเป็นจริง ปัจจัยสำคัญอันหนึ่งอยู่ที่พนักงานขาย แต่ในโลกออนไลน์ปัจจัยสำคัญอยู่ที่ Content ที่จะมาสร้างความชัดเจน

4. ทำให้ลูกค้าเชื่อให้ได้ว่าในโลกนี้มีสินค้าที่ “ดีและถูก”

ในโลกอินเทอร์เน็ตถ้าใครที่ติดตามการดำเนินงานของ Amazon.com มาตลอดจะรู้ว่า เจฟฟ์ทุ่มงบโฆษณามหาศาลในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา เขาเคยจ่ายไปกับแคมเปญโฆษณายาว 15 เดือนติดกัน ในหลาย ๆ รัฐ แต่จู่ ๆ เขาก็เลิกให้ความสำคัญกับสื่อโทรทัศน์ โดยให้เหตุผลว่า

ที่จริงแล้วการโฆษณาทางสื่อที่ mass หรือเข้าถึงมวลชนได้มากนั้นคุ้มค่า แต่สำหรับเขามันยังคุ้มไม่พอที่เขาจะต้องจ่ายมากขนาดนั้น แทนที่จะต้องจ่ายกับการโฆษณา เขาคิดว่าเอาเงินเหล่านั้นมาคืนกำไรลูกค้าด้วยการเอาเงินไปทุ่มกับการลดราคาสินค้าลง และเสนอการขนส่งฟรีให้กับลูกค้าเพื่อเพิ่มยอดขายจะดีกว่า ซึ่งเจฟฟ์อ้างว่าเพิ่มยอดขายได้อย่างน่าพอใจและตรงนี้เองที่เจฟฟ์เชื่อว่ามันจะกลายเป็นกระแสที่ผู้ประกอบการดอทคอมจะหันมาใช้กัน เนื่องจากการบริหาร Customer experience เป็นเรื่องสำคัญ

เหมือนกับที่นักวิชาการทางการตลาดหลายคนพยายามกล่าวอ้างทฤษฎี CEM หรือ Customer Experience Management มากขึ้นทุกวัน ต่อไปนี้การกล่าวอ้างสรรพคุณว่าบริการของตนดีแค่ไหน จะลดน้อยลง แต่สิ่งที่จะได้ผลกลับเป็นวิธีง่าย ๆ นั่นก็คือกลยุทธ์ ปากต่อปาก หรือ Word of Mouth marketing นั่นเอง“ไม่จำเป็นต้องบอกใครว่าคุณดี แต่ดีให้เขาเห็น” น่าจะเป็นคำพูดที่จริง ไม่ว่าจะเป็นออนไลน์หรือออฟไลน์

– – – – – – –

อย่างไรก็ตาม เจฟฟ์ก็ออกตัวว่าถึงการตลาดแบบปากต่อปากจะมีบทบาทมากยิ่งขึ้น แต่การโฆษณาก็ไม่ได้หายไปเสียเมื่อไหร่ หากแต่มันจะเกิดความสมดุลกันระหว่างการโฆษณาประชาสัมพันธ์และคุณภาพที่แท้จริงของสินค้าและบริการ ซึ่งส่วนตัวแล้วเขาคิดว่าถ้าหากสูตรสำเร็จในการทำการตลาดวันนี้อยู่ที่การโฆษณาประชาสัมพันธ์ว่าบริการคุณดีแค่ไหน 70 เปอร์เซ็นต์ และอีก 30 เปอร์เซ็นต์อยู่ที่การทำให้สินค้าและบริการมีคุณภาพมากขึ้น อีก 20 ปีข้างหน้า สูตรสำเร็จดังกล่าวจะต้องกลับกันอย่างแน่นอน

จากที่เล่ามาทั้งหมดนี้ เสาหลักของวงการดอทคอมก็ยอมรับว่าสิ่งหนึ่งที่อินเทอร์เน็ตยังทำได้ไม่สมบูรณ์ก็คือการพบปะลูกค้าแบบ Face-to-face เพราะคนเป็นสัตว์สังคม เรายังต้องการที่จะมีปฎิสัมพันธ์ พูดจาประสาเพื่อนกันกับคนอื่น ๆ แต่อินเทอร์เน็ตก็ยังเป็นสื่อที่ทรงพลังในการขาย และเชื่อได้เป็นอย่างยิ่งว่าจะเป็นส่วนสำคัญในการสร้างเศรษฐกิจใหม่ของโลกยุคสารสนเทศ จะเห็นได้ว่าเจฟฟ์พยายามสร้างเครื่องมือทางการตลาดของเขาออกมาอย่างสม่ำเสมอ ไม่ว่าจะเป็น Search Engine A9.com ของเขาที่เพิ่งจะจับมือกับเจ้าของธุรกิจฐานข้อมูลขนาดใหญ่อย่าง สมุดหน้าเหลือง หรือ YellowPages ไปหมาด ๆ

สำหรับประเทศไทย หากเรานำความคิดของเจฟฟ์มาปรับใช้ทั้งหมดอาจจะเป็นไปได้ยาก เพราะธรรมชาติของคนใช้อินเทอร์เน็ตไทยเป็นคนที่เรียกร้องความเป็นกันเองสูง ปัจจัยนี้จึงเป็นปัจจัยสำคัญตัวหนึ่งที่ทำให้คนไทยยังชอบที่จะซื้อของแบบธรรมดาอยู่ เพราะได้เจอะเจอกับพนักงานขาย มีการต่อรองราคาแบบหั่นแหลก และลูกล่อลูกชนอีกสารพัด บวกกับกระแสการเก็บเงินผ่านทางโทรศัพท์มือถือ (M-Payment) ยังไม่ง่ายต่อการใช้งาน และเป็นธรรมชาติมากเพียงพอ คนก็ยังอยากจะซื้อของแบบเดิมอยู่ ไม่เหมือนกับคนบางประเทศ อย่างประเทศสวีเดนที่มีภูมิประเทศที่ทำให้คนเดินทางลำบาก จนคนหันมาใช้อีคอมเมิร์ซกันในระดับที่น่าพอใจ

หนังสือและบทความแนะนำอ่านเพิ่มเติม

พ็อกเก็ตบุ๊คส์
1. Amazon Hacks 100 Industrial-Strength Tips & Tools โดย Paul Bausch สำนักพิมพ์ O’Reilly
2. Content Critical โดย Gerry Mcgovern และ Rob Norton สำนักพิมพ์ FT Prentice Hall

นิตยสาร
1. เรื่องจากปก นิตยสาร PC World ปีที่ 2 ฉบับที่ 18 ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2548 หน้า 782
2. คอลัมน์ Is it IT? โดย ดร.มะนาว นิตยสาร a day weekly ปีที่ 1 ฉบับที่ 39 11-17 กุมภาพันธ์ 2548 หน้า 95

YellowPages on Mobile

ใครที่ผ่านมาที่ Blog นี้ บางทีก็มาคุย MSN กับผม ถามว่าทำงานที่ไหน ตอบได้อย่างภาคภูมิใจครับว่า ตอนนี้ผมทำสมุดหน้าเหลือง ไทยแลนด์ เยลโล่เพจเจส ครับ อย่าเพิ่งทำหน้างงนะครับว่าผมเขียน Blog เกี่ยวกับธุรกิจอินเทอร์เน็ตแล้วมันมาเกี่ยวอะไรกับสมุดหน้าเหลืองเล่มหนา ๆ ที่กองอยู่ที่บ้าน เพราะบรรดาเพื่อน ๆ ผมก็งงเหมือนกันว่าทำไมผมเลือกทำงานที่นี่ www.yellowpages.co.th

อันที่จริงจะบอกว่าที่ Thailand YellowPages เป็นที่ที่เปิดโอกาสให้ผมได้ “เล่น” กับฐานข้อมูลขนาดใหญ่ที่สุดของไทยที่นึงเลย หมายเลขโทรศัพท์กว่า 6 ล้านเลขหมาย พร้อมที่อยู่ มี Call Center 1188 ที่เปิดให้บริการ 24 ชั่วโมง ตามสโลแกน พลิก-โทร-คลิก (พลิกสมุดหน้าเหลือง-โทร 1188-คลิก YellowPages.co.th)

แต่ตอนนี้ไม่ได้มีแค่ สมุดหน้าเหลือง call center แล้วก็เว็บไซต์เท่านั้นนะครับ ล่าสุดผมพัฒนา WAP Version ซึ่งเราเรียกมันว่า YellowPages on mobile ใครสนใจอยากรู้ว่ามันทำงานอย่างไร ใช้ค้นใช้ Search ได้เหมือนสมุดหน้าเหลืองไหม ลองเข้าไปดูนะครับที่ WAP.yellowpages.co.th หรือใครที่อยากเข้าสะดวกหน่อย ลองเข้าผ่านทาง Barcode access สิครับ

เอ๊ Barcode Access มันคืออะไร ลองเข้าไปอ่านก่อน แล้ว enjoy YellowPages on Mobile ได้ที่นี่เลยครับ

Web 2.0 กับ Business Model ที่ยังเคลือบแคลง

ผมเชื่อว่าทุกคนที่อยู่ในแวดวงธุรกิจอินเทอร์เน็ต ไม่มีใครไม่รู้จัก หรืออย่างน้อยก็ต้องเคยได้ยินคนเปรย ๆ ขึ้นมาว่า “Web 2.0” คืออะไร มันเป็น concept ของเว็บไซต์รุ่นใหม่ใช่ไหม มันมีความแตกต่างกับเว็บรุ่นเก่ารุ่น 1.0 อย่างไร ดีกว่า มีศักยภาพมากกว่าอย่างไร และที่สำคัญ…สร้างรายได้อย่างไร วันนี้ผมจะพยายามรวบรวมใจความสำคัญที่เกี่ยวกับ Business model ที่หลายคนสงสัยสำหรับ Web 2.0 มาไว้ที่นี่ หวังว่าเป็นประโยชน์ไม่มากก็น้อยนะครับ

ก่อนอื่นก็ต้องดูกันว่า Web 2.0 คืออะไร สำหรับรายละเอียดเข้าไปดูที่เว็บไซต์ของเจ้าของไอเดียเขาเลยดีกว่าครับ นั่นก็คือ Tim Oreilly ผู้ก่อตั้งสำนักพิมพ์หนังสือไอทีชื่อดัง “Oreilly” แต่ผมสรุปรวมสั้น ๆ ตามความเข้าใจของผมได้ว่า Web 2.0 เป็น Concept ของเว็บไซต์รุ่นใหม่ที่เน้นในการให้บริการด้วย Web service และให้อำนาจกับ User ในการโต้ตอบกับ webmaster มากขึ้นและรวมไปถึงการเปลี่ยนสถานะจาก ผู้รับสารเป็นผู้ส่งสารเสียเอง

ยกตัวอย่างเช่น
1. สมัยก่อนถ้าเราต้องการจะอ่านบทความดี ๆ สักบทความหนึ่ง เราจะต้องรอให้ webmaster ไป aggregate content หรือดึงเอาบทความจากที่อื่น หรือแม้กระทั่งเขียนด้วยกองบรรณาธิการของตัวเอง ซึ่งต้องใช้คนไม่ต่ำกว่า 20-30 คน สำหรับเว็บประเภท Portal แต่สมัยนี้เว็บไซต์ต่าง ๆ ก็เปิดให้บริการ RSS (Really Simple Syndicate) หรือเข้าใจง่าย ๆ ว่ามันก็คือ News feed ในรูปแบบ XML ที่ป้อน Content ไปให้คนที่สมัครสมาชิก RSS ได้อ่านทันทีที่มีการ Update นั่นหมายความว่า User มีทางเลือกว่าจะเข้าเว็บไซต์ไหนเมื่อไหร่ก็ได้มากขึ้น ไม่จำเป็นต้องขึ้นอยู่กับที่ใดที่หนึ่ง

2. User มีทางเลือกในการเสพย์ Content มากมายไม่ว่าจะเป็น Blog, Online Diary, เว็บไซต์เฉพาะทาง, หรือแม้กระทั่งอีเมล์ที่ Forward เรื่องราวแปลก ๆ ใหม่ ๆ มาถึง inbox ของคุณ แถมยังเปิดโอกาสให้ User แสดงความคิดเห็นกับสิ่งที่เขาคิดมากยิ่งขึ้น User มีสิทธิ์ที่จะเป็น Publisher ด้วยตัวของเขาหรือเธอเอง ไม่จำเป็นต้องรอเสพย์ Content จาก Web Portal ที่ใดที่หนึ่ง

อย่างไรก็ตามคำถามที่ผู้ประกอบการธุรกิจอินเทอร์เน็ตถามกันก็คือ แล้วไอ้เจ้า Web 2.0 นี้มันหาเงินได้ยังไง?
คำตอบเรื่องนี้ยังคงไม่ชัดเจน แต่ผมสรุปมาคร่าว ๆ ดังนี้ครับ
– ตอนนี้ Business Model ที่ประสบความสำเร็จที่สุดก็คือ Google Adsense เพราะ webmaster เจ้าไหนก็สามารถหาเงินจากการสร้าง Content ที่ตัวเองรักและชอบ และได้ Google มาเป็นตัวแทนในการขายโฆษณาให้ เหมือนเมื่อครั้งหนึ่งเว็บไซต์ DoubleClick.com เป็นตัวแทนโฆษณาออนไลน์ให้กับ webmaster และเว็บใหญ่ ๆ หลายแห่ง

– Content Management เปลี่ยนเป็น Wiki จากสมัยก่อนที่การจะ publish content อะไรออกไป จะต้องอาศัยกระบวนการสร้าง Content คือ Plan –> Action (write, take a photo, scan, record etc.) –> edit –> Publish ก็เปลี่ยนเป็นการดึงเอา User มาเป็น Publisher เสียเองอย่าง www.Wikipedia.org ที่เปิดให้ใครเข้ามา edit สารานุกรมเสรีที่เขาก่อตั้งขึ้นมาก็ได้ โดยที่ตัวเขาเอง ก็มี www.Wikicities.com (Wikia.com)เป็นเว็บไซต์ที่ใช้สร้างรายได้ส่วนตัวเพียงเว็บไซต์เดียว แต่ก็นะ…ส่วนหนึ่ง Jimmy Walse ผู้ก่อตั้ง wikipedia ก็หาเงินจาก Adsense อยู่ดีครับ

ท้ายที่สุด Concept ก็คือ Concept มันอยู่ที่ว่าเราจะสามารถนำเอา Concept ที่เขาคิดขึ้นมานี้มาปรับใช้ได้อย่างไร เหมือนกับครั้งหนึ่งที่ Tim Berners-Lee ผู้ประดิษฐ์ WWW คิดขึ้นมาเพื่อจุดประสงค์ในการสื่อสาร แต่ก็มีคนอย่าง เจฟ เบโซส์ (Amazon.com) ไมเคิล เดลล์ (Dell.com) David Filo, Jerry Yang (Yahoo!) ปรเมศวร์ มินศิริ (ผู้ก่อตั้ง Sanook.com และผู้บริหาร Kapook.com) มาใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีที่ Tim คิดค้นขึ้นฯลฯ

ปล. ใครมีแรงบินไปอเมริกา น่าไป Join event นี้นะครับ –> http://www.web2con.com/ แล้วเอามาแชร์กันบ้าง