How to: สิ่งควรรู้สำหรับนักการตลาดที่ต้องการใช้ Social Network “พระรอง” ในเมืองไทย

Image

ทุกคนรู้จัก Facebook ในฐานะ Social Network อันดับ 1 อยู่แล้ว วันนี้เราเลยขอเปลี่ยนบรรยากาศมาพูดคุยกันถึง Social Network “พระรอง” อย่าง Twitter, LinkedIn, Instagram และ Google+ กันบ้างดีกว่า เพราะปัญหาหนึ่งที่นักการตลาดดิจิตอลไทยมักจะเจอก็คือ คนใช้ Facebook เยอะมากเสียจนนักการตลาดแทบไม่สนใจ Social Network อื่นๆ เลย แต่ถึงอย่างนั้น บรรดาพระรองก็ยังคงมีความแตกต่าง และใช้ได้ในวาระที่แตกต่างกันไปครับ

อ่านเพิ่มเติม “How to: สิ่งควรรู้สำหรับนักการตลาดที่ต้องการใช้ Social Network “พระรอง” ในเมืองไทย”

Twitter เปิดเผยสเป็คแพลตฟอร์มโฆษณาของตัวเองแล้ว

แปลจากบทความ Full Details On Twitter’s Long-Awaited Ad Platform โดย Jason Kincaid วันที่ 12 เมษายน 2553

เมื่อเย็นที่ผ่านมานี้ เราได้รับข่าวล่ามาไวจาก Twitter ว่าทางบริษัทกำลังจะเปิดตัวแพลตฟอร์มโฆษณาใหม่ และข่าวนี้เพิ่งได้รับการยืนยันจากทาง Twitter ผ่านทางหนังสือพิมพ์ New York Times ว่าแพลตฟอร์มโฆษณาดังกล่าวจะเรียกว่า “Promoted Tweets” และนี่คือรายละเอียด

– ระบบโฆษณาใหม่นี้จะอยู่บนพื้นฐานของ keywords ใน Twitter search (ลักษณะคล้ายกับการแสดงโฆษณาในเสิร์ชเอ็นจิ้น – ผู้แปล)
– “Promoted Tweets” จะปรากฏอยู่บนส่วนบนสุดของหน้าแสดงผลการค้นหา มีลักษณะเป็นตัวอักษรเล็กๆ และระบุว่าเป็นสปอนเซอร์
– “Promoted Tweets” ไม่การันตีที่จะปรากฏอยู่ด้านบนของผลการค้นหานานแค่ไหน ถ้าหากว่าข้อความที่ tweet กันขึ้นไปนั้นไม่สอดคล้องกับ replies และจำนวน clicks รวมถึงอัตราการวัดผลที่ Twitter จะเรียกว่า “resonance” โฆษณาชิ้นนั้นก็จะถูกดึงออกและผู้โฆษณาจะไม่ต้องจ่ายเงินสำหรับค่าโฆษณานั้นๆ
-Twitter วางแผนที่จะนำ “Promoted Tweets” เข้าสู่ Twitter posts ของคุณที่ matched กับอัลกอริธึ่มส์ในความเกี่ยวเนื่องของคีย์เวิร์ด
-พันธมิตรผู้ร่วมโฆษณาขณะนี้มี Best Buy, Virgin America, Starbucks, และ Bravo

ใครอยากอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมอย่างเป็นทางการไปอ่านได้ที่ Blog ของ Twitter นะครับ

ภาษาเพื่อธุุรกิจบน Twitter

ผมเคยเขียน การใช้ Twitter สำคัญในแง่การตลาดอย่างไรไปแล้ว ก็มีฟีดแบคกลับมาว่าชอบ เอาไปให้เพื่อนอ่านบ้าง เอาไปให้เจ้านายอ่านบ้าง แต่หลังจากนั้นก็ไม่เกิดอะไรขึ้น เหมือนกับอ่านแล้วก็ “เออ ดี โอเค แล้วไง?” ผมเลยมานั่งดูอีกทีปรากฏว่า ที่ผมเขียนไปคราวที่แล้วมันดูเป็นเหมือนกับกรณีศึกษากว้างๆ ไม่ได้เจาะลึกลงในรายละเอียดว่า ถ้าจะทวีตกันจริงๆ เพื่อธุรกิจมันควรจะเป็นอย่างไร มาดูกันเลย

กำหนดคาแรกเตอร์ของคนทวีต ใช้ภาษาพูดกับเพื่อน และอย่าใช้ภาษาการตลาดแบบเดิมๆ
เวลาเราคุยกับเพื่อน เราคุยแบบนึง เวลาคุยกับครูบาอาจารย์ หรือไปบรรยายวิชาการที่ไหนภาษาย่อมแตกต่างกัน ใน Twitter หรือ Social Media ตัวอื่นๆ ก็เช่นกันครับ อย่างผมเป็นผู้ชาย อาชีพทำการตลาด อายุสามสิบกว่าๆ ถ้ามาเขียนแนะนำบล็อกว่า “อ๊าย สวัสดีจ้า ว่างายทุกคน วันนี้อัพบล็อกแล้วน๊า http://bit.ly… ใจจ้าาาา” อันนี้ก็คงไม่ใช่ คงถูกหาว่าไม่บ้าก็เพี้ยน แต่ถ้าจะเขียน มันก็ควรจะเป็น “สวัสดีครับ พอดีมีคนแนะมาว่าวันก่อน อ่านที่เขียนเรื่อง Twitter แล้วปรับใช้ยากไป อัพเดทแก้ไขใหม่แล้ว เชิญอ่านเลย http://bit.ly…” ในขณะเดียวกันก็ไม่ควรจะเป็นภาษาแบบการตลาดแบบพีอาร์พิมพ์ข่าวแจกส่งให้นักข่าวหนังสือพิมพ์แบบเดิมๆ ที่เขียน “อัพเดทแล้ว! กับบทความล่าสุด “ภาษาการตลาดบน Twitter” คลิกด่วน! http://bit.ly…” หรือถ้าคุณจะใช้ตัว Mascot แบบน้องอุ่นใจของ AIS ก็ต้องกำหนดออกมาว่าน้องอุ่นใจ ถ้าเป็นคน เขาจะพูดแบบไหน เพราะประเด็นสำคัญก็คือ คุณต้องทำให้ภาษาที่ใช้ทวีตนั้นมีความเป็นมนุษย์มากที่สุด ผมเคยเจอนะครับลูกค้ารายนึงที่ Yahoo! นี่แหละ ผมแนะนำว่าลองใช้ Twitter ผสมกับแคมเปญไปด้วยสิ เขากลัวมากถึงกับขนาดที่ว่าเวลาทวีตไปแล้วขอใส่ลิงก์ “Disclaimer” เข้าไปอีกอันได้ไหม อันนี้ไม่เวิร์คเลย

140 คาแรกเตอร์อ่านปราดเดียวแล้วเข้าใจเลย
อย่างที่เราทราบกันดีว่า Twitter มีข้อจำกัดทางตัวอักษร 140 คาแรกเตอร์ แต่มันก็เป็นข้อจำกัดที่สอนให้เรารู้จักทวีตให้กระชับ ได้ใจความ ดังนั้นภาษาที่เราจะเขียนใน Twitter จะต้องกระชับ เข้าใจง่าย อย่างเวลาเราทวีตไป พยายามให้มันจบใน 140 ตัวอักษรจะดีมากครับ ยกเว้นเสียแต่ว่าคุณมีแฟนๆ ติดตามคุณเยอะมากแล้วรู้ว่าคุณจะทวีตยาวๆ เหมือนกับถ่ายทอดสด หรือที่ชาวทวิตเตอร์เรียกกันว่า “LIVE” แบบที่ @thaishortmews ทำทุกๆ คืน อย่างนี้ก็ว่าไปอย่าง

Marketing message ต้องเนียน แต่อย่าเนียนแบบโกหก ต้องเนียนแบบจริงใจ
ผมเคยคุยกับทีมงานเว็บ Jeban.com ทีมงานเล่าให้ผมฟังว่ามีคนชอบมาทำ “เนียน” แอบขายของตัวเองด้วยการเขียนรีวิวชมเครื่องสำอางตัวเอง แต่ของแบบนี้มันดูออกครับ ใน Twitter ก็เช่นกัน เราอย่าตีเนียนแบบโกหก ให้คุณบอกกับทุกคนไปเลยว่าคุณทำงานที่ไหน เขียน Disclosure ในโปรไฟล์ Twitter ไปเลยยิ่งดีครับ เวลาเราจะใส่ Marketing message ก็พยายามนึกว่าถ้าเราเป็นคนอ่าน เราจะรู้สึกถูกยัดเยียดไหม ก็พยายามใช้ภาษาแบบที่ไม่ยัดเยียด จนเกินไป เราก็อาจจะทวีตถึงวิธีการแต่งหน้าแบบใหม่ที่มีประโยชน์ไปสัก 5 ครั้ง จากนั้นอาจแทรกข้อความว่า “วันนี้เครื่องสำอางของเรามีโปรโมชั่นพิิเศษ เพื่อนๆ ในทวิตเตอร์คนไหนสนใจ บอกมาได้เลยเดี๋ยว DM รหัสโปรโมชั่นไปให้” อันนี้คือถ้าใครสนใจก็บอกมา เดี๋ยวส่งโค้ดไปให้ ใครไม่สนใจก็เลิกติดตามเราไป

รวมๆ แล้วก็ไม่มีอะไรมากครับ ก็แค่ใช้ภาษาที่เหมาะสมกับตัวเอง เหมาะกับแบรนด์ของคุณ และเป็นกันเอง อย่า Hard sale และที่สำคัญมันก็กลับมาที่หัวใจของการตลาดแบบความสัมพันธ์ครับ “Make friend”

เทคนิคการใช้ Twitter กับพ็อกเก็ตบุ๊คและนิตยสาร

อย่างที่บอกเอาไว้ตอนที่แล้วว่าผมดันไปซื้อหนังสือมาเต็มเลย เล่มแรกอ่านจบไปแล้วคือนิตยสาร Technology Review จากนั้นผมเลยมาอ่าน Baked In เล่มนี้ไอเดียหลักๆ ที่เขาอ้างคือ ฝ่าย Product design กับฝ่ายการตลาดไม่ควรจะอยู่แยกกัน เรียกได้ว่าถ้าอยู่บริษัทเดียวกัน ควรจับมานั่งด้วยกันจะดีมาก แต่สิ่งที่น่าสนใจหลังจากผมอ่านมาครึ่งเล่มแล้วกลับไม่ใช่ทฤษฎีอะไรของเขาหรอกครับ กลับเป็นวิธีการใช้ Twitter ร่วมกับหนังสือของเขามากกว่า

วิธีการของหนังสือ Baked In ก็คือพอจบบทหนึ่ง ก็จะ Summarise รวบยอดทีนึงว่าการที่เราจะ Baked In ผลิตภัณฑ์ของคุณให้มันทำการตลาดได้ด้วยตัวเองเนี่ยจะต้องทำอย่างไร แล้วทิ้งท้ายว่าให้คุณ เข้าไปที่ Twitter แล้วบอกพวกเขาว่าคุณคิดอย่างไรกับบทนั้นๆ โดย คำว่า @bakedin #ชื่อบทที่อ่าน

พูดง่ายๆ ก็คือพ็อกเก็ตบุ๊คหรือนิตยสารเล่มไหนอยากที่จะคุยกับคนอ่านได้แบบสดๆ ทำให้หนังสือมีชีวิตขึ้นมา ก็ทิ้งท้ายไว้ที่ท้ายบทว่า

@ชื่อหนังสือหรือนิตยสาร #สิ่งที่คุณต้องการถามคนอ่าน

คนอ่านที่เป็นกลุ่มคนที่อาจจะใช้ Twitter อยู่แล้วนั้นก็จะเข้ามาบอกว่าอ่านหนังสือคุณแล้ว คิดอย่างไร คุณซึ่งเป็นเจ้าของหนังสือ หรือนิตยสาร ก็จะรู้ได้ว่าคนอ่านคิดอะไร ชอบหรือไม่ชอบ แถมถ้ามีคนเห็นด้วยกับความเห็นนั้นๆ ก็จะมีคนเข้ามาทำความรู้จักหนังสือหรือนิตยสารของคุณอีก ในทางกลับกัน ถ้าคุณเขียนไม่ดี คนต่อว่าคุณ แล้ว Retweet กันต่อไป คุณก็โดนอ่วมเช่นกัน

ยกตัวอย่างให้เห็นภาพมากขึ้นนะครับ นายปิงปอง เป็นกองบรรณาธิการของนิตยสาร FHM (ผมไม่มีส่วนได้ส่วนเสียอะไรกับทางนิตยสาร FHM Thailand นะครับ) เขียนบรรยายว่าสาวๆ ที่เข้าแข่งขัน Girls Next Door มาถ่ายภาพแฟชั่นเซ็ตไหนฮอตอย่างไร แต่คุณอาจไม่เคยรู้ว่าคนไหนฮอตสุด คุณอาจเตรียมภาพส่วนหนึ่งของนางแบบเหล่านี้ขึ้นเว็บ twitpic.com เอาไว้ แล้วพิมพ์ http://twitpic.com/110lgq ลงข้างๆ ภาพน้องนางแบบ

เสร็จแล้วคุณก็บอกว่าถ้าคุณผู้อ่านชอบใจใครชอบคนไหนก็ให้ ทวีตว่า @fhm_th #girlsnextdoor1 http://twitpic.com/110lgq คนต่อไปก็เป็น #girlsnextdoor2 http://twitpic.com/110lgq

ทำแบบนี้แล้ว นอกจากจะรู้ว่าคนไหนฮอตถูกใจคนอ่าน แล้วยังรู้ด้วยว่าคนอ่านอยากพูดอะไรกับภาพแต่ละภาพ วิธีนี้อาจจะไปขัดกับพวก SMS Vote แต่ถ้าหากว่ามันมีผลกับ “การบอกต่อ” บน Social Media ผมว่ารายได้จาก SMS อาจเทียบไม่ได้กับ ROI ที่เกิดขึ้นตรงนี้เลยก็ได้ ลองนึกภาพดูว่าหนุ่มๆ ที่ชอบน้องๆ นางแบบจะ Retweet กันกี่รอบ จะส่งต่อเข้าไปใน Facebook อีกกี่ที จะมีคนรวบรวมไปส่งต่อทางอีเมล หรือเอาไปทำสไลด์โชว์ในบล็อกอีกกี่ที เหมือนโฆษณา และทำ R&D ไปในตัว ต่อยอดไปทำ Lucky Draw ก็ได้ไม่ผิดกติกาแต่อย่างใด

วิธีนี้ผมว่าทั้งพ็อกเก็ตบุ๊คและนิตยสาร ถ้าอยากจะลอง “Join conversation” กับคนอ่านผมว่าก็ไม่เลวนะครับ