Google ยอมรับว่าแพ้ในเกาหลีใต้ (แต่ด้วยสาเหตุอะไรนะ?)

ผมเชื่อว่าหลายคนที่สนใจแวะเข้ามาอ่าน Blog ของผมคงสนใจเรื่องที่ผมจะเสนอครับ นั่นคือการแปลข่าวของเว็บไซต์ข่าวในบ้านเรากับเนื้อความในต้นฉบับบางครั้งมันออกมาไม่ตรงกัน แม้ว่าใจความจะคล้ายกัน แต่ก็มีความคลาดเคลื่อนไปประมาณ 2-3 ประเด็นสำคัญ ที่เอามาบอกกันใน Blog นี่ไม่ใช่ว่าผมต้องการประณามบทความแปลของนักข่าวบ้านเราหรอกนะครับ แต่สิ่งที่ผมต้องการจะบอกก็คือเรื่องอย่างนี้ต้องรอบคอบหน่อย

ถ้าใครมีเวลา ผมอยากให้อ่านทั้ง 2 ลิงก์ด้านล่างนี้นะครับ แต่ถ้าไม่มีเวลาก็อ่านเฉพาะลิงก์แรก แล้วข้ามไปที่ผมแปลแก้ไขเพิ่มเติมด้านล่างได้เลยครับ

บทความแปลของนักข่าวบ้านเรา
http://www.manager.co.th/CyberBiz/ViewNews.aspx?NewsID=9490000057151

บทความที่เชื่อว่าเป็นต้นฉบับ
http://www.usatoday.com/tech/news/2006-04-30-google-south-korea_x.htm

ประเด็นที่ผู้แปลต้องการสื่อก็คือจะบอกว่ายอดผู้ใช้ Google ในเกาหลีใต้นั้นสู้เว็บไซต์ท้องถิ่นอย่าง Naver.com ไม่ได้ ซึ่งตรงนี้อ่าน ๆ ไปก็ไม่มีอะไร แต่พอได้อ่านต้นฉบับผมก็พบว่า ผู้แปลตกประเด็นสำคัญไปดังนี้ครับ

– ทำไมถึงแพ้?
ผมอ่านข่าวต้นฉบับแล้วจับใจความได้ดังนี้ครับ ที่ Google.co.kr แพ้ Naver.com เพราะว่า Google เชื่อมั่นใน Search Technology ของตัวเองในขณะที่ Naver.com มีฐานความรู้ (ที่ชื่อว่า Knowledge iN) ที่สร้างโดยมนุษย์ ที่เกิดจากการถาม-ตอบ เหมือนการถาม-ตอบใน Webboard บ้านเรา ซึ่งตอนนี้มีคำถามคำตอบรวมกันมากกว่า 41.1 ล้านครั้ง ผลการค้นหาใน Naver.com จึงไปดึงเอาฐานข้อมูลจาก Knowledge iN นี้ รวมทั้งข่าวและ Blog
(To remedy the situation, Naver — which is more like a Yahoo-esque portal than a mere search engine — came up with what it calls Knowledge iN, where users post questions that are answered by other users — creating a database that now totals more than 41.1 million entries. A search on the site brings up typical Web results along with the Knowledge iN database and news and blog sites.)

– คำสัมภาษณ์ของนักวิเคราะห์ที่น่าฟังในข่าวที่ถูกตัดออกไป
Google พึ่งพาและเชื่อ Technology ของพวกเขามากไป โดยปล่อยให้ engine ทำงานและจัดลำดับความสำคัญของลิงก์ต่าง ๆ จากจำนวนการเยี่ยมชมในลิงก์นั้น มีการใช้ระบบ ranking (PageRank) เปรียบเทียบกับ Naver.com ที่เป็นฐานข้อมูลที่เกิดจากมนุษย์สร้างขึ้น ซึ่งเป็นสิ่งที่ Google ไม่มี แดนนี่ ซัลลิแวนด์ บรรณาธิการ newsletter Search Engine Watch กล่าว
(Google relies on its computers to troll the Web and see which sites are linked most often by other sites, creating a ranking system based on how often a page is referenced. Compared to Naver’s people-created database, Google doesn’t “have a system to combat that,” said Danny Sullivan, editor of industry newsletter Search Engine Watch.)

– อันดับความนิยมของผู้ใช้ Search Engine ในเกาหลีใต้
อันนี้ชัดเจนครับ ในข่าวไทยน่าจะบอกว่าใครคืออันดับหนึ่ง อันดับสอง และอันดับสาม แต่ก็ไม่มีThe search-engine field here is ruled by local NHN’s Naver website, whose links accounted for nearly 58.4% of search referrals, according to WebSideStory. KoreanClick’s tally of Naver’s share was even higher — nearly 80%. Daum Communications was second with more than 48%, and U.S.-based Yahoo’s Korean-language site No. 3 at 32%

YellowPages on Mobile

ใครที่ผ่านมาที่ Blog นี้ บางทีก็มาคุย MSN กับผม ถามว่าทำงานที่ไหน ตอบได้อย่างภาคภูมิใจครับว่า ตอนนี้ผมทำสมุดหน้าเหลือง ไทยแลนด์ เยลโล่เพจเจส ครับ อย่าเพิ่งทำหน้างงนะครับว่าผมเขียน Blog เกี่ยวกับธุรกิจอินเทอร์เน็ตแล้วมันมาเกี่ยวอะไรกับสมุดหน้าเหลืองเล่มหนา ๆ ที่กองอยู่ที่บ้าน เพราะบรรดาเพื่อน ๆ ผมก็งงเหมือนกันว่าทำไมผมเลือกทำงานที่นี่ www.yellowpages.co.th

อันที่จริงจะบอกว่าที่ Thailand YellowPages เป็นที่ที่เปิดโอกาสให้ผมได้ “เล่น” กับฐานข้อมูลขนาดใหญ่ที่สุดของไทยที่นึงเลย หมายเลขโทรศัพท์กว่า 6 ล้านเลขหมาย พร้อมที่อยู่ มี Call Center 1188 ที่เปิดให้บริการ 24 ชั่วโมง ตามสโลแกน พลิก-โทร-คลิก (พลิกสมุดหน้าเหลือง-โทร 1188-คลิก YellowPages.co.th)

แต่ตอนนี้ไม่ได้มีแค่ สมุดหน้าเหลือง call center แล้วก็เว็บไซต์เท่านั้นนะครับ ล่าสุดผมพัฒนา WAP Version ซึ่งเราเรียกมันว่า YellowPages on mobile ใครสนใจอยากรู้ว่ามันทำงานอย่างไร ใช้ค้นใช้ Search ได้เหมือนสมุดหน้าเหลืองไหม ลองเข้าไปดูนะครับที่ WAP.yellowpages.co.th หรือใครที่อยากเข้าสะดวกหน่อย ลองเข้าผ่านทาง Barcode access สิครับ

เอ๊ Barcode Access มันคืออะไร ลองเข้าไปอ่านก่อน แล้ว enjoy YellowPages on Mobile ได้ที่นี่เลยครับ

Web 2.0 กับ Business Model ที่ยังเคลือบแคลง

ผมเชื่อว่าทุกคนที่อยู่ในแวดวงธุรกิจอินเทอร์เน็ต ไม่มีใครไม่รู้จัก หรืออย่างน้อยก็ต้องเคยได้ยินคนเปรย ๆ ขึ้นมาว่า “Web 2.0” คืออะไร มันเป็น concept ของเว็บไซต์รุ่นใหม่ใช่ไหม มันมีความแตกต่างกับเว็บรุ่นเก่ารุ่น 1.0 อย่างไร ดีกว่า มีศักยภาพมากกว่าอย่างไร และที่สำคัญ…สร้างรายได้อย่างไร วันนี้ผมจะพยายามรวบรวมใจความสำคัญที่เกี่ยวกับ Business model ที่หลายคนสงสัยสำหรับ Web 2.0 มาไว้ที่นี่ หวังว่าเป็นประโยชน์ไม่มากก็น้อยนะครับ

ก่อนอื่นก็ต้องดูกันว่า Web 2.0 คืออะไร สำหรับรายละเอียดเข้าไปดูที่เว็บไซต์ของเจ้าของไอเดียเขาเลยดีกว่าครับ นั่นก็คือ Tim Oreilly ผู้ก่อตั้งสำนักพิมพ์หนังสือไอทีชื่อดัง “Oreilly” แต่ผมสรุปรวมสั้น ๆ ตามความเข้าใจของผมได้ว่า Web 2.0 เป็น Concept ของเว็บไซต์รุ่นใหม่ที่เน้นในการให้บริการด้วย Web service และให้อำนาจกับ User ในการโต้ตอบกับ webmaster มากขึ้นและรวมไปถึงการเปลี่ยนสถานะจาก ผู้รับสารเป็นผู้ส่งสารเสียเอง

ยกตัวอย่างเช่น
1. สมัยก่อนถ้าเราต้องการจะอ่านบทความดี ๆ สักบทความหนึ่ง เราจะต้องรอให้ webmaster ไป aggregate content หรือดึงเอาบทความจากที่อื่น หรือแม้กระทั่งเขียนด้วยกองบรรณาธิการของตัวเอง ซึ่งต้องใช้คนไม่ต่ำกว่า 20-30 คน สำหรับเว็บประเภท Portal แต่สมัยนี้เว็บไซต์ต่าง ๆ ก็เปิดให้บริการ RSS (Really Simple Syndicate) หรือเข้าใจง่าย ๆ ว่ามันก็คือ News feed ในรูปแบบ XML ที่ป้อน Content ไปให้คนที่สมัครสมาชิก RSS ได้อ่านทันทีที่มีการ Update นั่นหมายความว่า User มีทางเลือกว่าจะเข้าเว็บไซต์ไหนเมื่อไหร่ก็ได้มากขึ้น ไม่จำเป็นต้องขึ้นอยู่กับที่ใดที่หนึ่ง

2. User มีทางเลือกในการเสพย์ Content มากมายไม่ว่าจะเป็น Blog, Online Diary, เว็บไซต์เฉพาะทาง, หรือแม้กระทั่งอีเมล์ที่ Forward เรื่องราวแปลก ๆ ใหม่ ๆ มาถึง inbox ของคุณ แถมยังเปิดโอกาสให้ User แสดงความคิดเห็นกับสิ่งที่เขาคิดมากยิ่งขึ้น User มีสิทธิ์ที่จะเป็น Publisher ด้วยตัวของเขาหรือเธอเอง ไม่จำเป็นต้องรอเสพย์ Content จาก Web Portal ที่ใดที่หนึ่ง

อย่างไรก็ตามคำถามที่ผู้ประกอบการธุรกิจอินเทอร์เน็ตถามกันก็คือ แล้วไอ้เจ้า Web 2.0 นี้มันหาเงินได้ยังไง?
คำตอบเรื่องนี้ยังคงไม่ชัดเจน แต่ผมสรุปมาคร่าว ๆ ดังนี้ครับ
– ตอนนี้ Business Model ที่ประสบความสำเร็จที่สุดก็คือ Google Adsense เพราะ webmaster เจ้าไหนก็สามารถหาเงินจากการสร้าง Content ที่ตัวเองรักและชอบ และได้ Google มาเป็นตัวแทนในการขายโฆษณาให้ เหมือนเมื่อครั้งหนึ่งเว็บไซต์ DoubleClick.com เป็นตัวแทนโฆษณาออนไลน์ให้กับ webmaster และเว็บใหญ่ ๆ หลายแห่ง

– Content Management เปลี่ยนเป็น Wiki จากสมัยก่อนที่การจะ publish content อะไรออกไป จะต้องอาศัยกระบวนการสร้าง Content คือ Plan –> Action (write, take a photo, scan, record etc.) –> edit –> Publish ก็เปลี่ยนเป็นการดึงเอา User มาเป็น Publisher เสียเองอย่าง www.Wikipedia.org ที่เปิดให้ใครเข้ามา edit สารานุกรมเสรีที่เขาก่อตั้งขึ้นมาก็ได้ โดยที่ตัวเขาเอง ก็มี www.Wikicities.com (Wikia.com)เป็นเว็บไซต์ที่ใช้สร้างรายได้ส่วนตัวเพียงเว็บไซต์เดียว แต่ก็นะ…ส่วนหนึ่ง Jimmy Walse ผู้ก่อตั้ง wikipedia ก็หาเงินจาก Adsense อยู่ดีครับ

ท้ายที่สุด Concept ก็คือ Concept มันอยู่ที่ว่าเราจะสามารถนำเอา Concept ที่เขาคิดขึ้นมานี้มาปรับใช้ได้อย่างไร เหมือนกับครั้งหนึ่งที่ Tim Berners-Lee ผู้ประดิษฐ์ WWW คิดขึ้นมาเพื่อจุดประสงค์ในการสื่อสาร แต่ก็มีคนอย่าง เจฟ เบโซส์ (Amazon.com) ไมเคิล เดลล์ (Dell.com) David Filo, Jerry Yang (Yahoo!) ปรเมศวร์ มินศิริ (ผู้ก่อตั้ง Sanook.com และผู้บริหาร Kapook.com) มาใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีที่ Tim คิดค้นขึ้นฯลฯ

ปล. ใครมีแรงบินไปอเมริกา น่าไป Join event นี้นะครับ –> http://www.web2con.com/ แล้วเอามาแชร์กันบ้าง

Yahoo! จับมือ MSN, Havard เปิด OCA สู้ Google


เปิดตัวอย่างเป็นทางการเมื่อต้นปี 2005 สำหรับองค์กรไม่แสวงผลกำไรทางด้าน Content ภายใต้ชื่อ The Open Content Alliance (OCA) หนึ่งในความพยายามขององค์กรทางด้านอินเทอร์เน็ตในสหรัฐอเมริกาที่พยายามจับไม้จับมือกันเพื่อที่จะรวม Digital content ให้อยู่ในฐานเดียวกัน ซึ่งรวมไปถึง Multimedia content ที่นำมาจากห้องสมุด ผู้จัดพิมพ์หนังสือจากหลากหลายสาขา ไม่ว่าจะเป็นด้านสังคม วัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ เทคโนโลยี และแน่นอนว่าเป็นการรวมหรือ consolidate เอาไว้ในฐานข้อมูลเดียว

“การรวมตัวกันเพื่อสร้าง digital content ครั้งใหญ่ในชื่อ The Open Content Alliance (OCA) นี้มี Yahoo! คอยให้การสนับสนุนอยู่ ร่วมกับทางมูลนิธิ Internet Archive ห้องสมุดต่าง ๆ ผู้จัดพิมพ์รายใหญ่ สถาบันการศึกษา และผู้ให้บริการ Content รายใหญ่อีกหลายเจ้า ซึ่งทั้งหมดนี้อาจถึงขั้นเป็นศัตรูกับบริการ Google Print ของ Google ได้ และที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งก็คือการเข้ามาของ OCA หมายถึง concept ของการเป็น ‘Total digital archiving’ ซึ่งจะมีคนคอยหนุนอยู่ข้างหลังอีกเพียบ” บาร์บาร่า ควินท์ บรรณาธิการนิตยสาร Searcher ออกความเห็น

ขณะนี้สิ่งที่น่าจับตามองก็คือใครบ้างที่จะมาเข้าร่วมโครงการนี้ ที่ผมอ่านดูแล้วน่าสนใจก็มี
– Yahoo!
– MSN
– O’Rielly Media
– Havard University
ดูทั้งหมดอีกเพียบ

ว่าแล้วลองเข้าไปดูกันได้เลยนะครับ เดือนตุลาคมปี 2006 นี้ทางพันธมิตร OCA จะเปิด Public event เพื่อเริ่มดำเนินการแล้ว เห็นว่าทาง OCA เปิดกว้างสำหรับผู้ให้บริการ Content ทุกคนที่จะเข้ามาร่วมกัน โดยทาง OCA จะถือว่าลิขสิทธิ์ของเจ้าของ Content เป็นสิ่งสำคัญที่สุด และเพื่อให้ Content ที่จะมาจากหลากหลายแหล่ง ทาง OCA โดย Internet Archive กำลังจัดเตรียมพนักงานและองค์กร โดย Yahoo! เองก็หมายมั่นปั้นมือที่จะเป็นผู้เผยแพร่ Content เหล่านี้ผ่านทาง Index ของตัวเองด้วย

http://www.opencontentalliance.org/index.html

Thai Internet – Past & Present

I remember the first time I surf the Net is around 1996 (Gosh, 10 years already!). I were a university student at Assumption University in Bangkok. In that time, my online activities are nothing more than Hotmail and “nTalk” (classic Chat application). By the way, Internet convince me to stick with the computer which became ‘something’ to me. It’s more than a big electronic machine, more than a green screen, but people all around the world is here! They were connected to each other. Yes, it’s one world. Globalised world.

10 years later, I am working for the Internet & E-Commerce section of a private company. It is good to work for something I love. However, I think I found something about the Internet and the dream of globalised world.

– Sanook.com, Hunsa.com, Sabuy.com, Simplemag.com, Yumyai.com etc. sold to the VC and they return visitors and some revenue to the investors.
– 2001 Dot-com bubble was burst, we overestimate dot-com business
– The dream to push our site to NASDAQ = 0%
– 2004 Everything seems better, some entrepreneur come back to the new challenge.
– 2006 the notion about ‘Web 2.0’ come back with the Internet capability
– Next? What do you think?

เจฟฟ์ เบโซส์ กับบุคลิกภาพเชิงบวก

First publish on www.manager.co.th by Jakrapong Kongmalai (29 July 2004)
Revise by Jakrapong Kongmalai (30 April 2006)

ถ้าพูดถึงคนดังในแวดวงอีคอมเมิร์ซ เชื่อว่าคงไม่มีใครไม่รู้จัก เจฟฟ์ เบโซส์ CEO และผู้ก่อตั้งเว็บไซต์อีคอมเมิร์ซชื่อดัง Amazon.com เป็นแน่แท้… วันนี้ผมมีทั้งเรื่องใหม่อัพเดทล่าสุดเกี่ยวกับความเคลื่อนไหวในกิจการของเขา และเรื่องเก่าแบบมองต่างมุมของเขามาเล่าครับเริ่มจากเรื่องเก่าก่อนก็แล้วกันนะครับ เดี๋ยวค่อยอัพเดทเรื่องใหม่กัน

สืบจากคนรอบตัวในแวดวงดอทคอมเมืองไทย เจฟฟ์ เบโซส์ ในสายตาของหลาย ๆ คน ก็คือนักธุรกิจคนหนึ่งที่ประสบความสำเร็จจากการนำ Amazon.com เข้าตลาดหุ้นได้ในปลายทศวรรษที่ 90 ได้อย่างมีจังหวะจะโคนในช่วงที่เขากำลังประสบความสำเร็จ ตลาดกำลังฟูฟ่องไปด้วยฟองสบู่ดอทคอม หนังสือที่ออกมาขายในบ้านเราส่วนใหญ่ก็บรรยายแต่ความสำเร็จของเจฟฟ์ถึงความเป็น icon ของอินเทอร์เน็ตทั้งนั้น ไม่ค่อยเล่าถึงความลำบากลำบนของเขาก่อนที่จะร่ำรวย (จากหุ้น) เสียเท่าไหร่ จนกระทั่งฟองสบู่ดอทคอมแตกไปหลายปีแล้วก็ไม่ยักมีหนังสือประวัติการทำงาน (ที่อัพเดทหลังฟองสบู่แตก) ของเขาออกมา

แต่สิ่งหนึ่งที่จำได้ชัดเลยไม่ว่าดอทคอมจะ boom หรือ burst ก็คือเรื่องการ present ตัวที่แปลกแหวกแนวของเจฟฟ์ และรอยยิ้มที่เห็นบ่อยจนกลายเป็นสัญลักษณ์ประจำตัวไปแล้วจากการรวบรวมประวัติของเขาจากหนังสือภาษาไทย ภาษาอังกฤษ และเว็บไซต์ที่กล่าวถึงเส้นทางชีวิตของเขา เชื่อว่าเจฟฟ์เป็นคนที่มีบุคลิกภาพเชิงบวก เขาวางแผนการตลาดเว็บไซต์ผสมกับบุคลิกของเขาได้อย่างแยบยลเสมอไม่ว่าจะเป็นเรื่องการพยายามเริ่มสร้างกิจการแบบ low profile จากโรงรถทั้งที่มีเงินจะไปทำงานในออฟฟิศก็ได้ เพื่อวันหนึ่งจะได้นำมาพูดกับสื่อมวลชนได้ว่ากิจการของเขาเริ่มต้นง่ายๆ มาจากโรงรถเล็กๆ แห่งหนึ่ง หรือแม้กระทั่งที่ประชุมของเขาก็คือร้านสตาร์บักสาขาที่ใกล้สำนักงานของเขาหรือแม้กระทั่งการเผยกับสื่อว่าเขาเขียนแผนงานลงในเครื่องคอมพิวเตอร์แลปท็อปเล็กๆ ตัวหนึ่งขณะนั่งรถไปกับภรรยาในรถเก่า ๆ ที่ได้มาจากที่บ้าน และการที่บอกกับคนอื่นว่าเขาไม่มีความทะเยอทะยานอะไรมากมายนัก ในตอนเริ่มก่อตั้งบริษัท เขาหวังเพียงว่าร้านหนังสือออนไลน์จะสามารถเจาะตลาดเล็ก ๆ ได้

ดูเหมือนมันจะติดดินดีนะครับ

ทั้งที่ความเป็นจริงแล้วกว่าจะก่อกำเนิดกิจการ Amazon.com มาได้เขามีประวัติการกู้เงินจำนวนมหาศาลนับล้านดอลล่าร์ทั้งจากญาติโกโหติกา จากธนาคาร จากการจำนองสินทรัพย์ จ้างทีมงานระดับเกรดเอแพงๆ และทุ่มเวลามากมายในการพัฒนาเว็บไซต์ ทดสอบการใช้งาน และต่อสู้กับคู่แข่งใหญ่ๆ อย่างบาร์นแอนด์โนเบิล ( bn.com ) ด้วยความแข็งแกร่ง แต่เขากลับแสดงมันออกมาให้ดูเหมือนว่า Amazon.com เป็นเรื่องง่ายๆ เป็นความฝันของคนหนุ่มคนใดก็ตามที่กล้าจะฉีกกฎเกณฑ์เก่า ๆ เข้าสู่ธุรกิจในโลกไซเบอร์

แต่เมื่อมองย้อนเข้าไปในประวัติของเจฟฟ์ ผมว่าเราก็สามารถทำความเข้าใจเขาได้มากยิ่งขึ้นเจฟฟ์จบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยระดับ Ivy League ของอเมริกาอยู่ เขาจบมาด้วยผลคะแนนอันยอดเยี่ยม เขาร่วมงานกิจกรรมกับมหาวิทยาลัยอย่างสม่ำเสมอ เขาผ่านงานด้านการเงินการลงทุน และด้านไอทีมาอย่างโชกโชน ล้มและลุกกับสิ่งที่เขาทำมานับไม่ถ้วน เป็นไปได้อย่างไรว่าคนที่มีความกระตือรือร้นในชีวิต มีทักษะในการวิเคราะห์การเงินการลงทุน และเชี่ยวชาญด้านไอทีจะมองตลาดง่าย ๆ หวังเพียงตลาดเล็ก ๆ อย่างที่พูด

ผมเลยมองว่าสิ่งที่เจฟฟ์พยายามบอกและถ่ายทอดง่าย ๆ เหล่านี้ค่อนข้างจะเป็นถ้อยคำทางการตลาดที่ส่งผลดีต่อตัวเขาและธุรกิจ มันแฝงไปด้วยความฉลาดแบบแปลก ๆ แต่ได้ผล เพราะจะว่าไปมันก็ส่งผลดีในการ “จุดประกาย” ให้กับคนหนุ่มสาวที่มองว่าธุรกิจดอทคอมสามารถเริ่มต้นได้ไม่ยาก และดูเป็นเรื่องของคนร่วมสมัยที่ดูสดใสร่าเริงแบบเจฟฟ์นี่ยังไม่รวมถึงวิธีการ present ตัวเองของเจฟฟ์กับพนักงานในบริษัทมักจะเล่าผ่านสื่อต่างๆ ว่ามันไม่ใช่เรื่องยากอะไรเลยหากคุณต้องการจะจับมหาเศรษฐี CEO ธุรกิจพันล้านคนนี้มาเต้นแร้งเต้นกาอะไรสักอย่าง เพราะว่าเจฟฟ์ทำได้หมดจริง ๆ นับตั้งแต่จับเอาเขามาแต่งตัวเป็นกุ๊กในโรงแรมสี่ดาว เพื่อที่จะเอามาโปรโมทร้านเครื่องครัวของ Amazon.com

ไม่ใช่เรื่องยากหากคุณจะเห็นเจฟฟ์กระโดดขึ้นไปยืนแบบสุนัขบนโต๊ะประชุมเพื่อเรียกร้องความสนใจในการทำ business presentation หรือจับเอาเขามากระโดดตีลังกาถ่ายรูปขึ้นนิตยสารธุรกิจดัง ๆ รวมถึงการออกอาการหัวเราะร่วนแบบดังลั่น “กร๊ากกกก” ที่เขามักจะหัวเราะเสมอไม่ว่าบริษัทกำลังอยู่ในสภาพดีหรือร้ายแต่ก็ด้วยเสียงหัวเราะและความฉลาดเฉลียวแบบบุคลิกภาพเชิงบวกนี้ล่ะครับที่เป็นส่วนเล็กๆ ที่ส่งผลให้ Amazon.com อยู่มาได้ถึงทุกวันนี้

อย่างน้อยก็เป็นเครื่องมือสร้างรอยยิ้มให้กับพนักงานในบริษัท อารมณ์ขันเป็นยาวิเศษของชีวิตจริง ๆ ครับ … พูดถึงบริษัทแล้วก็อัพเดทสถานภาพทางการเงินของ Amazon.com กันสักนิดนะครับล่าสุดเมื่อวันที่ 22 กรกฏาคม 2004 ที่ผ่านมา ทาง Amazon.com ก็ออกมาประกาศว่ายอดขายของพวกเขาเพิ่มมากขึ้นถึง 26% แม้จะยังไม่ถึงเป้าที่คาดไว้โดยทีมงานได้กล่าวว่าพวกเขาคาดว่าจะขึ้นไปถึง 6.625 พันล้านดอลล่าร์ และ 6.925 พันล้านดอลล่าร์ อย่างไรก็ตามผู้อำนวยการฝ่ายการเงินของบริษัทก็ออกมาเผยว่าทางบริษัทยังหวังที่จะทำกำไรสุทธิจริงในปีนี้จากการเปิดให้ผู้ค้าหนังสือบนอินเทอร์เน็ตรายย่อยขายหนังสือผ่านทางระบบของ Amazon.com และยอดขายในต่างประเทศก็เพิ่มขึ้นถึง 50% แม้ว่าจะติดปัญหาเรื่องค่าขนส่งและอัตราแลกเปลี่ยนอยู่บ้าง

แต่สาเหตุหลักที่ยังไม่มีกำไรเห็น ๆ สักทีเห็นจะเป็นสาเหตุมาจากบริษัทต้องแบกรับภาระค่าสาธารณูการด้านเทคโนโลยีต่าง ๆ เมื่อมีผู้สื่อข่าวถามถึงกรณีนี้ว่าเมื่อไหร่ทางบริษัทจะชะลอการจ่ายเงินในส่วนนี้เพื่อเพิ่มส่วนต่างกำไรให้มากขึ้น เจฟฟ์ก็ออกมาพูดสั้น ๆ เพียงแค่ว่า “เล่ายังไงดีครับ เรื่องมันยาว” ทั้งนี้เนื่องจากนักวิเคราะห์หลายสำนักก็พากันมองว่าค่าใช้จ่ายเหล่านี้ยิ่งทำให้ Amazon.com ทำกำไรจริงได้ยากขึ้น อีกทั้งการแข่งขันในตลาดก็สูง จึงเป็นเรื่องที่ยากเหลือเกินที่จะทำกำไรสุทธิได้จริง ๆ

ในเวลาที่ลำบากเช่นนี้ณ ตอนนี้เจฟฟ์อาจจะยังหัวเราะร่วน หรือกำลังหนักใจอยู่ที่ไหนสักแห่ง หรือมีแผนอะไรอยู่ในใจต่อไป สำหรับช่วงขาขึ้นของธุรกิจดอทคอมเราคงต้องติดตามกันต่อไป เพราะความเคลื่อนไหวของธุรกิจดอทคอมที่เชื่อมต่อธุรกิจทั่วโลกเข้าไว้ด้วยกันอย่างไร้พรมแดน ย่อมส่งผลกระทบต่อธุรกิจดอทคอมบ้านเราอย่างแน่นอน

————————————–

ประวัติโดยสังเขป

เจฟฟรี่ เพรสตัน เบโซส์ (Jeffrey Preston Bezos)
เกิดเมื่อวันที่ 12 มกราคม ปีค.ศ.1964 ปัจจุบันอายุ 40 ปี เติบโตในเมืองฮุสตัน รัฐเท็กซัส จบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยพรินซตันเมื่อปี 1986 ด้วยความฉลาดเฉลียวและผลการเรียนดีเด่น เขาได้รับการทาบทามจากบริษัทยักษ์ใหญ่หลายแห่ง เขาเพิ่มพูนประสบการณ์มากขึ้นเรื่อย ๆ จนกระทั่งเข้าร่วมงานกับบริษัทด้านเงินทุนชื่อดังอย่าง ดี.อี. ชอว์แอนด์โค กับตำแหน่งรองประธานอาวุโสของบริษัทที่มีอายุเพียง 28 ปี

ในช่วงนั้นเองที่เขาพบว่าการสร้างร้านหนังสือออนไลน์เป็นธุรกิจที่มีแนวโน้มเติบโตอย่างก้าวกระโดด ควรค่าแก่การลงทุน แต่ผู้บริหารในบริษัทคิดต่างจากเขา จึงเป็นเหตุให้เขาลาออกจากบริษัท เริ่มต้นสร้างอนาคตของตัวเองกับ Amazon.com เมื่อปี 1994 ขณะนั้นเขามีอายุได้ 30 ปี

การออกเสียงคำว่า “Bezos”
บางคนอ่านนามสกุลของเจฟฟ์แบบตรงตัว เลยออกเสียงว่า เบ-ซอส แต่จากการสืบค้นชีวประวัติ พบว่าออกเสียงว่า เบ-โซส มาจากภาษาสเปน แปลว่าจุมพิต

ข้อมูลจาก..
– นิตยสาร Fortune – มิถุนายน 2546 จากเรื่อง “The Tao of Jeff – From dot-com joke to one click colossus – Winning the Amazon way”
– CBS.MarketWatch.com – 22 กรกฏาคม 2547
– The Internet Entrepreneure – กลยุทธ์ชี้ทางรอด 13 เจ้าพ่อดอทคอมระดับโลก โดย Christopher Price
(แปลโดย ณัฐพงศ์ พันธเกียรติไพศาล และ ดาว ไวรักษ์สัตว์)
– Amazon.com โดย Robert Spector (แปลโดยอาจกิจ สุนทรวัฒน์ และชัยฤทธิ์ เอี่ยมกมลา)