daily stuff #2: นางกวัก

เคยสงสัยไหมครับว่าทำไมในร้านก๋วยเตี๋ยวบ้านเราจะต้องมี “นางกวัก” และร้านซูชิจะต้องมี แมวญี่ปุ่น “มะเนคิเนโกะ” เจ้าแมวเหมียวนำโชค?

วันนี้เกิดอาการ “คัน” ต้องสืบหาประวัติสักหน่อย ปรากฏว่า “นางกวัก” ของเรานั้นมาจากคติของพุทธปนกับพราหมณ์ นางกวักมีชื่อจริงว่า “สุภาวดี” เป็นลูกของสุจิตพราหมณ์กับนางสุมณฑา เกิดในสมัยพุทธกาลหลายพันปีก่อน ต่อมาได้รับพรจากพระกัสสปเถระเจ้า และ พระสิวลีเถระเจ้า ในประวัติได้กล่าวว่าจิตของสุภาวดีได้รับการประสาทพรจากพระอรหันต์ถึงสององค์ ส่งผลให้บิดาของหล่อนทำการค้าได้กำไรไม่เคยขาดทุน จากนั้นนางเลยกลายเป็นไอค่อนของการทำมาค้าขายดีมาตลอด แต่ผมก็ยังไม่เข้าใจอยู่ดีว่าคุณสุภาวดีทำไมถึงชอบน้ำแดง?

แล้วน้องเหมียวแดนปลาดิบล่ะ? ประวัติเขาบอกว่า “มะเนคิเนะโกะ” คำว่า มะเนคิ หมายถึง เชิญ ส่วนคำว่า เนะโกะ หมายถึง แมว ดังนั้น เมื่อรวมกันเป็น มะเนคิเนะโกะ จึงหมายถึง แมวที่เชื้อเชิญคนให้เข้ามา สาเหตุที่ประเทศญี่ปุ่นใช้แมวกวักในการเรียกลูกค้านั้นว่ากันว่า สมัยเอโดะ มีหญิงชราคนหนึ่งที่ยากจนมาก แต่นางเลี้ยงแมวอยู่ตัวหนึ่งและรักแมวมาก ขนาดที่ว่าถ้ามีกินก็กินด้วยกัน ถ้าอดก็อดด้วยกัน

แต่ด้วยความที่ยากจนมากท้ายที่สุดก็เลี้ยงไม่ไหว จึงต้องนำแมวไปปล่อย แต่ด้วยความรักและผูกพันกับแมว คืนนั้นหญิงชราก็นอนร้องไห้เสียใจทั้งคืน และฝันว่าแมวมาบอกกับนางว่า ให้ปั้นรูปแมวจากดินเหนียวแล้วนางจะโชคดี เช้าวันรุ่งขึ้น หญิงชราจึงตื่นขึ้นมาปั้นรูปแมวจากดินเหนียว ไม่นานนักก็มีคนแปลกหน้าเดินผ่านหน้าบ้านและขอซื้อตุ๊กตาแมวตัวนั้นจากนางไป

นับแต่นั้นมา นางก็ปั้นแมวขึ้นมาอีกเรื่อยๆ และมีคนมาขอซื้อตุ๊กตาแมวที่นางปั้นอยู่ตลอดเวลา เมื่อขายของได้มากมายเช่นนี้ นางจึงเริ่มมีฐานะดีขึ้นจากการขายตุ๊กตาแมว และในที่สุดนางก็นำแมวเลี้ยงสุดที่รักของนางกลับมาเลี้ยงอีกครั้งหนึ่ง

ด้วยเหตุนี้จึงเกิดความเชื่อที่ว่าแมวเป็นสัตว์นำโชคลาภมาให้ผู้ที่ประกอบ ธุรกิจการค้าหรือพ่อค้าแม่ค้า จึงมีการนำแมวกวักมาตั้งไว้เพื่อเชิญชวนลูกค้าให้เข้ารับบริการ

ถึงจะมี “เรื่องราว” “ความเชื่อ” และที่มาต่างกัน… “นางกวัก” มาแนวคติพุทธ คติพราหรมณ์ “มะเนคิเนะโกะ” มาแนวนิยายปรัมปรา แต่มันก็ตอบโจทย์เดียวกัน คือให้กำลังใจคนค้าขายนั่นเอง เพราะฉะนั้นจำไว้ว่า ทุกอย่างอยู่ที่ใจ

One Reply to “daily stuff #2: นางกวัก”

ใส่ความเห็น

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Twitter picture

You are commenting using your Twitter account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Connecting to %s

%d bloggers like this: