เมื่อสักครู่ผมทวีตออกไปว่า…
อยากจะขอเชิญชวนคนทำงาน PR ที่ส่ง Press Release กรุณาเลิกแปลคำว่า Mr. เป็น “มร.” กันสักที ควรจะแปลว่า “นาย” จึงจะถูกต้องครับ
— Jakrapong (@jakrapong) October 31, 2015
//platform.twitter.com/widgets.js
ปรากฏว่ามีเพื่อนๆ Retweet อยากให้คนอื่นเห็นมากกว่า 40 ครั้ง ผมเลยคิดว่าอาจจะมีหลายๆ คนคิดคล้ายผมว่า Press Release หรือ “ข่าวแจก” ในบ้านเราควรได้รับการปรับปรุง เลยคิดต่อยอดจากทวีตเดิมใส่เข้ามาหลายๆ อย่าง เผื่อจะเกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้นครับ
- [พาดหัว] ควรปรับให้พาดหัวของข่าวแจกกระชับ ไม่ควรใส่ข้อความทุกอย่างที่อยู่ในเนื้อหามาที่พาดหัว
- [คำที่ควรใช้] ควรแปลภาษาไทยให้ถูกต้อง เช่น “Mr.” ก็ควรแปลว่า “นาย” กรุณาอย่าแปลว่า “มร.” คนไทยอาจจะเข้าใจว่าคุณฝรั่งคนนั้นเป็นหม่อมราชวงศ์
- [มุมมองข่าว] ข่าวที่ส่งให้กับสื่อ ควรจะเป็นข่าวที่มีประโยชน์แก่ผู้อ่านของสื่อนั้นๆ จริงๆ มากกว่าภาพข่าวว่าองค์กรนั้นๆ ไปทำอะไรมา ซึ่งคนทั่วไปอาจไม่ได้สนใจก็ได้ เช่น แทนที่จะส่งภาพหมู่ผู้บริหาร และพนักงานเยี่ยมแท่นพิมพ์ พร้อมกับทึ่งในเทคโนโลยีการผลิตชั่วโมงละ 360,000 ฉบับ ก็น่าจะพิจารณาส่งข่าวที่องค์กรของท่านได้ช่วยทำให้สังคมดีขึ้นอย่างไร โดยมีผลิตภัณฑ์หรือบริการของท่านเป็นส่วนหนึ่ง เช่น น้ำท่วมต่างจังหวัด ท่านส่งรถให้เจ้าหน้าที่ใช้ส่งข่าวส่งน้ำให้กับชาวบ้าน อันนี้ก็น่าสนใจขึ้น
- [Target ผู้รับข่าว] ข่าวประชาสัมพันธ์หากเป็นเรื่องแนว B2B เช่น การมอบรางวัลให้พันธมิตรทางธุรกิจ อาจพิจารณาสร้าง B2B Mailing List ให้ลูกค้าแล้วส่งเฉพาะคนที่เป็นพันธมิตร หรือหน้าข่าวธุรกิจนั้นๆ จริงๆ มากกว่าส่งข่าวนั้นให้กับสื่อทุกเจ้า
- [คำนึงถึงผู้รับ] การส่งข่าวแจกให้ Media กับ Influencer ไม่เหมือนกัน สำหรับ Media ส่วนใหญ่จะอยากได้ภาพรวม ที่เป็นข้อเท็จจริง ตัวเลข สถิติที่คนโดยทั่วไปจะสนใจ แต่สำหรับ Influencer ส่วนใหญ่ไม่น่าจะสนใจข่าวแจก น่าจะส่งเรื่องอื่นๆ ที่ follower ของ Influencer คนนั้นๆ สนใจ
อันนี้ผมเคยคิดเหมือนกันครับ แต่ตอนทำหนังสือ ก็รู้ว่า เขาจะมีพจนานุกรมของหนังสือนั้นๆ ว่าจะต้องใช้คำนี้ เพือให้ทุกคอลัมน์ บอกอ ตรวจสอบบทความ ทุกบทความแปลแบบนี้เหมือนกันหมดทั้งเล่ม ส่วน Press Release ผมมองว่า อาจจะเป็นได้ว่า ตำรา หรือรูปแบบการเขียน “ถอดคำภาษาอังกฤษเป็นไทย” น่าจะระบุเอาไว้ (เคยมีพจานุกรมถอดคำภาษาอังกฤษเป็นไทย) อันนี้ผมไม่รู้ว่าผิดหรือถูกยังไงนะครับ แค่คาดเดาว่า เขาใช้ มร. อาจจะไม่ใช่ว่าอยากใช้หรอก น่าจะมีตำรา หรือระบบ ระเบียบอะไรสักอย่างหรือเปล่า รบกวนขอข้อมูลด้วยครับว่ามีที่มาจากไหน
ปกติผมได้ Press Release ผมเอามาเขียนใหม่ครับ และมักจะไม่ใช่ มร จะเอาชื่อภาษาอังกฤษของเขา เพราะคิดว่า คำค้น google น่าจะค้นชื่อภาษาอังกฤษมากกว่า (บนสื่อออนไลน์ครับ)