ช่วงปีที่ผ่านมาเราจะเริ่มเห็นว่าค่ายเพลงไทยเริ่มหันมาขายเพลงผ่านการดาวน์โหลดเข้า device ชนิดต่างๆ เหมือนเมืองนอกอย่างเต็มสูบ ซึ่งส่งผลกระทบกับผู้บริโภคอย่างหนึ่งคือ จากเดิมเคยซื้อเพลงทั้งอัลบั้ม ก็เปลี่ยนมาเป็นซื้อกันเป็นเพลงๆ ไป ศิลปินแต่ละรายถ้าไม่ดังจริง อาจไม่ได้ออกอัลบั้ม ออกแค่ซิงเกิลดูกระแสไปก่อน ถ้าหากว่าดีค่อยออกเป็นอัลบั้มต่อไป
อันนี้ไม่ใช่เรื่องใหม่อะไร แต่ที่ผมเขียนขึ้นมาวันนี้ก็เพียงแค่จะอัพเดททั่วๆ ไปว่า ตอนนี้ธุรกิจเพลงกำลังเปลี่ยนแปลง “วิธีการ Delivery” เพลง ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ของค่ายเพลง จำเป็นต้องหันมาทำกันแบบดิจิตอลมากขึ้น ระยะนี้เห็นเน้นขายผ่านการดาวน์โหลด *123 ไม่ก็ดาวน์โหลดผ่านเว็บตัดบัตรเครดิต, บัตรเดบิต, Cash card, บิลโทรศัพท์ และสุดท้ายค่อยเป็นการขายซีดี จากนั้นก็ต่อยอดไปพวกเก็บเงินค่าลิขสิทธิ์คาราโอเกะ ไม่ก็เปลี่ยนโมเดลเป็นการหาเงินจากสปอนเซอร์แทน อย่างปีก่อนๆ เราจะเห็นค่าย True จ่ายให้ บอย โกสิยพงษ์, โอม ชาตรี
ต่อจากนี้ไปจะเป็นอย่างไร? ในมุมมองผมคือ ค่ายเพลงจะมีบทบาทลดลง โมเดลเดิมใช้ไม่ได้ รายได้ที่เคยได้จากเทปและซีดีมากกว่า 90% หดหายไป ส่วนดาวน์โหลด และการแสดงสดทำรายได้แค่ 10-20% (คร่าวๆ นะครับ) นอกจากนี้ศิลปินยังเริ่มมา “ทำเอง” มากขึ้น ถ้าลองสังเกตบนปกซีดีตอนนี้ จะเห็นว่าศิลปินหลายคนเริ่มไม่ต่อสัญญาค่ายเพลง (อาจจะเพราะค่ายก็ไม่อยากต่อ หรือศิลปินไม่อยากต่อ อันนี้แล้วแต่) และออกมาเปิดค่ายเพลงเล็กๆ ซัพพอร์ตตัวเองมากขึ้น อย่างล่าสุดผมเห็นอัลบั้มใหม่ของคุณโก้ มิสเตอร์แซ็กแมน ก็ทำค่าย Chilling Groove แล้ว Outsource การจัดจำหน่ายให้บริษัทจัดจำหน่ายอย่าง Platinum ไป
ดังนั้นในช่วงนี้ถ้าถามว่าแนวโน้มธุรกิจน่าจะเป็นอะไร ก็น่าจะเป็น Music marketing อย่างเช่นที่ผมเคยเขียนไปเกี่ยวกับโมเดลการทำงานร่วมกับศิลปินของ Topspin Media เมื่อเกือบสองปีที่แล้วนี่เป็นโมเดลนึง อีกแบบนึง อันนี้ผมคิดเล่นๆ แต่ก็น่าจะเป็นไปได้ นั่นก็คือ ค่ายอาจลองให้ทุนศิลปินไปเปิดค่ายเล็กๆ ของตัวเอง เน้นออกคอนเสิร์ตบ่อยๆ ไม่ต้องขายซีดี คือค่ายเพลงเป็นนายทุนเหมือนเดิม แต่ว่าการแบ่งรายได้จะไม่ใช่แบบค่ายได้ 95% ศิลปินไม่ถึง 5% แต่ว่าศิลปินค่ายเล็กนั้นๆ จะต้องให้สิทธิ์ในการขายดาวน์โหลดกับค่ายเพลง ซึ่งถือเป็นช่องทางในการทำรายได้ที่ชัดเจน เป็นต้น
อย่างไรก็ตาม เท่าที่ผมตามข่าวดูตอนนี้เมืองนอกกำลังทดลองกันกับ Vevo.com เว็บไซต์มิวสิควิดีโอซึ่งเป็นการร่วมมือกันระหว่างค่าย โซนี่, ยูนิเวอร์ซัล, อะบูดาบี มีเดีย โฮสต์ (ไม่ค่อยแน่ใจว่า EMI ด้วยหรือเปล่า) โดย Youtube จะโฮสต์คอนเทนท์ให้ ส่วนรายได้ก็มาจากโฆษณาก็แบ่งกับ Google ไป ตอนนี้ยังดูใน Vevo.com ตรงๆ ไม่ได้ครับ ยังไม่เปิดให้บริการเมืองไทย แต่ว่าดู Vevo Channel ใน Youtube ได้ครับ
– – – – –
ท้ายสุดนี้ขอแอบเชียร์ศิลปินในดวงใจหน่อย ถ้าอยากให้ Bodyslam ทำผลงานดีๆ ออกมาให้เราฟังกัน ช่วยกันดาวน์โหลดอย่างถูกกฏหมายด้วยนะครับ 🙂
การมีโมเดลใหม่ๆ ก็ช่วยให้คนฟังมีทางเลือกที่หลากหลายยิ่งขึ้น สื่อดิจิตอลมีส่วนช่วยให้ศิลปินที่ไม่มีค่ายมีสื่อที่จะเผยแพร่ผลงานของตัวเอง มีช่องทางการจำหน่ายที่ไม่ต้องลงทุนปั๊ม CD และอาจมีโอกาสทำรายได้ที่ชัดเจนจากค่าตอบแทนที่ได้จากค่าจ้างทำโปรเจคต์จากค่ายมือถือ ดีกว่ารอลุ้นจากยอดขาย ในส่วนตัวคิดว่าการโหลดเพลง
ผ่านมือถือ ทำให้การตัดสินใจซื้อง่ายขึ้น เพราะการจะซื้อซีดีแผ่นนึง ก็จะเลือกที่ชอบจริงๆ แต่อย่าง calling
melody บางทีเราก็โหลดวันละหลายเพลง แถมเปลี่ยนบ่อยๆ อีกต่างหาก โหลดก่อนจ่ายทีหลัง เห็นบิลเก็บตังอีกที สลบ อิอิ
ดูเหมือนว่ายอดดาวน์โหลดมีผลวัดว่าศิลปินจะมีโอกาสได้ทำอัลบั้มหรือเปล่า เพราะฉะนั้นถ้ารักใครชอบใคร
ก็คงต้องช่วยกันโหลดนะจ๊ะ
ยอดดาวน์โหลดมีผลต่อการออกอัลบั้มของศิลปินด้วย? โอโห ใช้ยอดดาวน์โหลดเป็น KPI เชื่อเลย
ปัจจุปันศิลปิน ก็ได้เงินจากการแสดงคอนเสริตเป็นหลักอยุ่ไม่ใช่หรือครับ พวก CD นี้รายได้น้อยกว่ามากๆ แทบต้องแบ่งให้ค่ายที่สังกัดอีก ผมว่าศิลปินกับค่ายยเพลงจะแต่งเพลงไม่กี่เพลงแล้วโปรโมท แล้วอาศัยคอนเสริตเอา ส่วนเรื่องช่องทางการขายน่าสนใจดีครับ มันน่าจะอิสระมากขึ้น ไม่ต้องมีขายได้เฉพาะขาย อย่างตอนนี้ที่ไทยมีเว็บใหม่แบบ http://www.pleng.com ทำด้วย RS แต่ก็มีเพลงของ GMM ให้วื้อด้วยครับ
คอมเมนท์แบบมึนๆ หวังว่าไม่หลงประเด็นจจากหัวข้อหน่า
แวะมาอ่านใหม่ พิมพ์ผิดหลายคำเลยครับ ขอแก้อันนี้จาก “ไม่ต้องมีขายได้เฉพาะขาย” เป็น “ไม่ต้องขายเฉพาะค่ายตัวเอง” เพราะอันอื่นน่าจะเดาได้
คอมเมนต์ดีนะ! ขอบคุณมากครับ
เหมือนจะสนใจเรื่องเดียวกันนะครับ แต่กำลังสงสัยว่า รายได้จากซีดีหายไป 90 เปอร์เซ็นต์ แล้วการแสดงสดกับดาวน์โหลด จะทำรายได้แค่ 20 เปอร์เซ็นต์แล้ว 80 เปอร์เซ็นต์ที่เป็นรายได้มาจากส่วนไหน มาจาก Sponsor หรือป่าว หรือมาจากการขายของที่ระลึก แต่นั่นคือ การมองว่า ศิลปิน อยู่ในค่ายเพลงใหญ่ๆ
แต่ถ้าค่ายเพลงเล็กที่ทำกันเอง Sponsor แบบ ที่ True ทำ ไม่น่าจะเป็นทางออก ศิลปิน ก็ต้องขายเพลง ขายโชว์อะไรก็ว่าไป แต่เพลงจะต้องเป็นสินค้าหลัก และมันจะมีสองพวก คือ ขายเพลงจริงๆ โชว์อาจจะไม่มีลูกเล่นมาก กับพวกที่โชว์โด่นเด่นมาก เป็นจุดขายเลย อันนี้เขาจะต้องทุ่มทุนกับการคิดโชว์มาก เผลออาจจะลงทุนมากกว่าทำเพลงด้วยซ้ำ ก็ขึ้นอยู่กับว่า เราจะชอบแบบไหน ชอบฟังเพลงอยู่กับบ้านอย่างเดียว หรือชอบไปดูโชว์ด้วย สำหรับผม บางวง ผมชอบแค่ฟังจาก CD แต่บางวง อยากดูคอนเสิร์ต
ว่างๆ ลองมาแวะ Blog ผมก็ได้นะครับ http://www.winelirious.com/2009/08/16/the-future-of-selling-music/