ประเทศที่สร้างจากความไม่มี

Chinese_Singaporean's_Celebration_of_Victory

อ่านความเห็นนี้ของจ่าพิชิตแล้วทำให้ผมคิดถึงช่วงหนึ่งของชีวิตที่เคยไปทำงานที่สิงคโปร์
สิงคโปร์เป็นประเทศที่เริ่มต้นจากความจำเป็นที่เลือกไม่ได้ในหลายๆ ด้าน ภูมิประเทศเป็นเกาะ มีทรัพยากรธรรมชาติจำกัด ทำให้รัฐบาลจำต้องพัฒนาประเทศด้วยวิธีการ “สร้าง” และ “นำเข้า” เท่านั้น

ที่ว่า “สร้าง” และ “นำเข้า” นี่ยังไง?

ไม่มีทะเล –> ก็ “สร้าง” ทะเลเทียมที่ Sentosa “นำเข้า” แรงงานจากประเทศเพื่อนบ้านเข้ามาสร้างสถานพักผ่อนหย่อนใจที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งใน Southeast Asia

ไม่มีเงิน –> ก็ “สร้าง” ประเทศให้เป็นเมืองท่า สร้างกาสิโนในประเทศ “นำเข้า” นักท่องเที่ยว แต่คนสิงคโปร์จะเล่นต้องจ่ายหนักกว่าคนต่างชาติ

ไม่มีป่า –> ก็ “สร้าง” ป่า ด้วยการปลูกต้นไม้มันทั่วประเทศ (ทั้งที่ไม่ค่อยจะมีที่) “นำเข้า” แรงงานมาจากทุกสารทิศ คอยดูแลป่าที่มีน้อยนี้

ไม่มีพื้นที่ –> เขาก็ “สร้าง” พื้นที่ ด้วยการระเบิดภูเขา และ “นำเข้า” ดินทรายจากประเทศเพื่อนบ้านมาถมเพิ่มพื้นที่

ไม่มีประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมยาวนาน –> เขาก็ “สร้าง” พิพิธภัณฑ์ และพยายามอธิบายถึงรากเหง้าย้อนไปตั้งแต่สมัยอยู่ร่วมกับมาเลเซีย ยุคเป็นอาณานิคม และเล่าถึงการพัฒนาทางการเมือง จน ลี กวน ยู ตั้งพรรค PAP คิดว่าจะ “นำเข้า” แรงงานจากทั่วโลกให้ประเทศเป็นเมืองท่าที่สำคัญของภูมิภาค

ไม่รู้ว่าจะรวบรัดไปหรือเปล่า แต่ผมคิดว่าสิงคโปร์พัฒนาประเทศจากความ “ไม่มี” ด้วยการ “สร้าง” และ “นำเข้า”

แม้หลายๆ คนค่อนขอดว่าไม่เป็นประชาธิปไตยเต็มใบ มีคำถามจากนักวิชาการเรื่องสิทธิมนุษยชน และเป็น “Man Made Nation” อะไรๆ ก็ดูไม่เป็นธรรมชาติ แต่ท่ามกลางเสียงนกเสียงกา สิงคโปร์ก็กลายเป็นศูนย์กลางของภูมิภาค รัฐบาลมีผลงานจับต้องได้ เน้นเรื่องของการนำเข้าทรัพยากร ตลาดแรงงานของสิงคโปร์

หลายๆ ครั้งตอนที่อยู่ที่นั่น ผมสังเกตได้ว่าเพื่อนๆ คนสิงคโปร์ก็รู้สึกอยู่ลึกๆ ว่าคนต่างชาติมาแย่งงานคนสิงคโปร์ แต่พวกเขาก็ยอมรับได้ว่าประเทศเขาจะพัฒนาได้ยากหากขาดการสร้าง และนำเข้าซึ่ง ความรู้ แรงงาน สติปัญญาของเพื่อนร่วมโลก

เพราะเขารู้ดีมานานแล้วว่า สิงคโปร์ไม่อาจดำรงได้อย่างลำพัง การจะเดินหน้าต่อไปต้องพึ่งพาอาศัย และยอมรับความแตกต่างจากเพื่อนบ้าน

สำหรับประเทศไทย มองในแง่เปรียบเทียบ ผมว่าก็ดีเหมือนกันที่มีดราม่าเรื่องนี้เกิดขึ้น มันก็ทำให้เราคิดได้เหมือนกันนะครับว่า เมืองไทยไม่ได้อยู่อย่างโดดเดี่ยวอีกต่อไปแล้ว เราล้วนต้องพึ่งพาเพื่อนบ้านในยุค AEC

เราอาจจะเริ่มต้นด้วยการ “สร้าง” ความเข้าใจเรื่องความหลากหลายในชนชาติเชื้อชาติที่จะเกิดขึ้นในทศวรรษนี้ เพราะเราจำต้อง “นำเข้า” กำลังสติปัญญา แรงงาน ของเพื่อนบ้านเข้ามาพัฒนาชาติของเราให้เดินหน้าไปได้ตลอดรอดฝั่งในยุคดิจิทัลนี้

ใส่ความเห็น

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Twitter picture

You are commenting using your Twitter account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Connecting to %s

%d bloggers like this: