หนังสือการตลาดดิจิทัลส่วนใหญ่ที่เจอมักจะเป็นเทคนิคในการทำการตลาดดิจิทัล ถ้าจะเป็นภาพใหญ่มา ก็มักจะเป็นพวกแนะนำให้เราสร้างความแตกต่างอย่างสุดขั้ว อย่าง Purple Cow หรือพวก framework แน่นๆ อย่าง Groundswell แต่เราไม่ค่อยเจอหนังสือที่นำเสนอกระบวนทัศน์ใหม่ที่นำมาปรับใช้ได้ง่ายบ่อยนัก แต่ The Membership Economy เป็นหนึ่งในนั้นครับ
5 แนวคิดควรพิจารณาก่อนเริ่มต้นสร้างบล็อกของตัวเอง
Content Marathon
หนึ่งในเรื่องที่ยากที่สุดของการสร้าง content เพื่อสร้าง personal branding ให้ตัวเราเองไม่ใช่เรื่องว่าเราจะสร้าง content อะไรดี และจะพูดอย่างไร แต่คือ ความสม่ำเสมอ หรือความอดทนที่จะยืนหยัดสร้างมันออกมาอย่างต่อเนื่องเพื่อคนที่ติดตามเรา
ไดอะรี่คนแก่
ทำงานมาหลายปีจนหัวหงอก ปีนี้เป็นปีแรกที่มีรุ่นพี่ และเพื่อนพ้องในวงการเริ่มหลงผิดชวนผมไปบรรยาย และสอนหนังสือระยะยาวแบบทั้งเทอม (ซึ่งบางทีเขาก็สมหวัง บางทีก็ผิดหวัง) ทำให้ได้เรียนรู้อะไรหลายอย่าง ก็เลยอยากเขียนไว้เตือนใจตัวเองในสิ่งที่ได้เข้าใจในปี 2014
5 อย่างควรทำ เวลาไปงาน Digital event ต่างๆ
เวลาเราๆ ท่านๆ ไปงานอีเวนท์ของคนดิจิทัลในบ้านเรา บางทีเจอคน geekๆ nerdๆ ก็ไปไม่เป็น ชวนคุยไม่ถูก เพื่อให้ประสบการณ์โดยรวมในการไปเยี่ยมชมงาน Digital event ต่างๆ ของคุณราบรื่น นี่คือสิ่งที่ผมแนะนำให้ทำ 5 ข้อ
5 สิ่งที่ควรปรับปรุงใน Press Release ไทย
5 อุปนิสัยออนไลน์แบบไทยๆ (ล่ะมั้ง?)
ก็แค่ปิ๊งแว๊บหนึ่งนะครับ บางคนอาจจะเห็นด้วย หรือไม่เห็นด้วยก็ได้ เขียนเล่นๆ ครับ
- ใจดี ขี้สงสาร – ผมว่าคนไทยจริงๆ นะครับ ยังจำได้ว่าสมัยเด็กๆ เมื่อสมัยพระเจ้าเหาเวลาเราเดินริมถนน เจ้าของบ้านที่อยู่ตรงป้ายรถเมล์นั้นก็เอาเก้าอี้มาให้คนนั่งบ้าง มีตุ่มน้ำให้ตักดื่มมาถึงสมัยนี้ คนไทยบนโลกออนไลน์ต่างช่วยแชร์เบอร์บัญชีทุกครั้งที่มีคนน่าสงสาร หมาแมวถูกทำร้าย คุณยายที่ลูกไม่เหลียวแล ฯลฯ จนหลายครั้งก็มีมิจฉาชีพฉกฉวยโอกาสเหล่านั้นท่ามกลางความใจดีขี้สงสารของเรา แต่ก็เพราะความน่ารักแบบนี้แหละที่ยังทำให้เมืองไทยยังอยู่กันได้ไม่ใช่หรอกหรือ?
- เรียกร้องความเป็นกันเองสูง – เราพร้อมจะเรียกทุกคนว่า พี่ ป้า น้า อา ลุง ป้า เฮีย ซ้อ โดยที่เราไม่รู้จักเขา แม้กระทั่งในขณะที่ติดต่อธุรกิจ เราก็ใช้คำเหล่านี้ ถ้าเราไม่ค่อยใช้คำเหล่านี้กับคู่สนทนาสิ กลับกลายเป็นเรื่อง จะว่าไปอาจไม่ใช่แค่เมืองไทย แต่ในเอเชียหลายๆ ประเทศก็เป็นแบบนี้ในโลกออนไลน์ก็เช่นกัน เราจะเห็นได้ว่าคนที่แทนตัวเองด้วยสรรพนามเหล่านี้จะรู้ดูอบอุ่น เข้าถึงง่าย ไม่เจ้ายศเจ้าอย่าง และเมื่อมีคนมาทักคุณบนโลกออนไลน์ ถ้าคุณไม่ทักกลับสิครับ มันคงเป็นเรื่อง (ในวันที่ระบบแชทต่างๆ โชว์ status ว่า “อ่านแล้ว”)
- หัวเราะแล้วทุกอย่างจะดูซอฟต์ลง – เวลาคุยกันตัวอักษรจะไม่ค่อยสื่ออารมณ์ บางครั้งไม่อยากให้อารมณ์ของการคุยมันเครียดเกินไปก็ใส่ emoticon, sticker ยิ้มแล้ว แต่ยิ้มแล้วก็ยังมีบางคนคิดได้ในมุมกลับว่า “ยิ้มเยาะเย้ย” หรือ “ยิ้มแสยะ” ไปได้อีก ดังนั้นถ้าใส่เลข 555555 เข้าไปก็จะดูซอฟต์ลง
- Hashtag ไม่ได้มีไว้สืบค้นย้อนหลัง แต่มีหน้าที่บอกอารมณ์ – หน้าที่ที่แท้จริงของ Hashtag บน Social Media คือการไว้สืบค้นย้อนหลัง เช่น เราโพสต์อะไรก็ตามแล้วติด #60dayschallenge นั่นหมายความว่าเราอยากให้คนที่ติดตามเราสามารถติดตามได้ว่าเราเคยพูดเรื่องนี้ไปแล้วกี่ครั้ง มีภาพที่เราเคยแท็กอันนี้ก็จะสืบค้นได้ แต่คนไทยมักใช้ในทางอื่น เช่น #พี่ขาหนูขอโทษ #ชีวิตดี๊ดี อะไรแนวนี้
- เราใช้มือถือเป็นอาวุธกันมากขึ้น – หนึ่งในสิ่งที่เราเกรงว่าจะสูญเสียไปมากที่สุดในชีวิตก็คือ ชื่อเสียง เกียรติยศ คนยุคนี้จึงเริ่มมีการใช้กล้องมือถือแอบถ่ายขณะที่ตัวเองกำลังพูดคุยกับบุคคลที่เราต้องการความจริงจากเขามากที่สุดเช่น ฝ่ายลูกค้าสัมพันธ์ เจ้าหน้าที่ตำรวจ (เผื่อเขาไม่พูดความจริง) เพื่อปกป้องตัวเอง ส่งผลให้เราเริ่มเห็นคลิปดราม่ามากขึ้น เพราะสมัยก่อนเทคโนโลยีไม่พร้อมแบบสมัยนี้
เขียนอ่านกันเล่นๆ นะครับ มีอะไรคุยกันได้!
เราเป็น City boy, City girl เกินไปหรือเปล่า?
เมื่อสัปดาห์ก่อนผมมีโอกาสเดินเล่นช่วงหัวค่ำย่านสาทร สิ่งที่ผมทำคือหน้าด้านหน้าทนถามพ่อค้าแม่ค้าที่ยืนขายของอยู่ใต้ร่มริมทางว่า “ใช้เน็ต หรือใช้แอปอะไรอยู่บ้างครับ” ส่วนใหญ่จะตอบผมว่า “แอปคืออะไร?” “เน็ตคืออะไร” ผมเลยถามต่อว่าแล้วใช้มือถือทำอะไรบ้าง พ่อค้าแม่ค้าตอบ “เล่นไลน์ เล่นเฟซ” อะไรกันนี่?
อ่านเพิ่มเติม “เราเป็น City boy, City girl เกินไปหรือเปล่า?”
ทำสิ่งที่ควรต้องทำ ข้อคิดจาก The Intern
วันนี้ภรรยาชวนไปดูหนังเรื่อง The Intern ตามที่หลายๆ คนรีวิวกันเอาไว้ว่าหนังดีน่าดู พอจบเดินออกมาจากโรงก็เห็นด้วยครับว่าเป็นหนังที่ทำให้เสาร์ อาทิตย์นี้ของเราไม่เสียเปล่าเลยจริงๆ
The Intern เป็นเรื่องราวของ เบน วิทเทเกอร์ (Robert De Niro) ชายวัย 70 ปี ผู้ไม่ต้องการใช้ชีวิตหลังเกษียณให้หมดไปวันๆ เขาจึงมาสมัครเป็นพนักงานฝึกหัดในบริษัทเว็บไซต์ด้านแฟชั่น ซึ่งก่อตั้งและบริหารโดย จูลส์ ออสติน (Anne Hathaway)
การชี้วัดเชิงคุณภาพ
นักการตลาดทุกคนน่าจะคุ้นเคยกับการวัดผลด้วยตัวชี้วัดความสำเร็จ หรือที่ติดปากกันว่า KPI แต่หนึ่งในเรื่องที่นักการตลาดยุคใหม่น่าจะเจอก็คือ เรามักจะเจอ KPI ประหลาดๆ ที่ไม่น่าจะนับรวมเข้ามาใน KPI ของพวกเราเพิ่มขึ้นมาเรื่อยๆ